http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เพิ่มกำลังผลิตยาโรคเรื้อรัง มั่นใจผู้ป่วยไม่ขาดยา

เพิ่มกำลังผลิตยาโรคเรื้อรัง มั่นใจผู้ป่วยไม่ขาดยา 

อภ. เพิ่มกำลังผลิตยาโรคเรื้อรังขึ้น 30% ใน เม.ย. และเพิ่มอีก 50% ใน พ.ค. มั่นใจยาไม่ขาดแน่ หลัง รพ.ทยอยจ่ายยาล่วงหน้า 6 เดือน ลดแออัด รพ. ป้องกันแพร่เชื้อโควิด-19 ขอ รพ.บริหารจัดการจัดสรรยาให้เหมาะสม

วันนี้ (15 เม.ย.) ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้หลายประเทศได้รับผลกระทบและใช้มาตรการปิดประเทศ รวมถึงประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบยา เช่น จีน อินเดีย อเมริกา และประเทศแถบยุโรป ทำให้เกิดปัญหาในการจัดส่งวัตถุดิบยาและบรรจุภัณฑ์ ขณะที่หลายโรงพยาบาลเริ่มใช้นโยบายจ่ายยาโรคเรื้อรังล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้โรงพยาบาลมีการสำรองยามากกว่าปกติ ขณะเดียวกัน ต้องเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนยาจำเป็นที่ต้องใช้รักษาโรคโควิด-19 ใน 5-6 รายการด้วย ทำให้ช่วงแรกส่งผลกระทบต่อการผลิตและสำรองยาบางรายการ

ภญ.มุกดาวรรณ กล่าวว่า เดิมในภาวะปกติ อภ.จะมีแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการผลิตไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งอาจมีวัตถุดิบบางรายการต้องกำกับดูแลเป็นพิเศษ โดยจะมีการทยอยผลิตเป็นยาสำเร็จรูปสำรองไว้ในคลังในจำนวนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย เมื่อเริ่มมีสถานการณ์โควิด-19 อภ.ได้ปรับแผนการผลิตตั้งแต่ปลาย ม.ค.มาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นกลุ่มยาจำเป็นโรคเรื้อรัง โดยเร่งให้มีการส่งมอบวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตต่างๆ เร็วขึ้น หากวัตถุดิบบริษัทไหนติดขัดเรื่องการส่งมอบ จะทำการจัดซื้อจากแหล่งวัตถุดิบแห่งใหม่ 2-3 แห่ง ที่ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพแล้ว เพื่อนำมาใช้ในการผลิตได้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งเครื่องบรรจุยาลงแผงอัตโนมัติความเร็วสูงจากประเทศเยอรมนีอีกหลายเครื่อง

ภญ.มุกดาวรรณ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ได้แสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง เช่น ยาซิมวาสแตตินใช้ลดระดับคอเลสเตอรอล ชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ขณะนี้มีแหล่งวัตถุดิบจำนวน 5 ราย ในอินเดีย อภ.เพิ่มกำลังผลิต จาก 56 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 62 ล้านเม็ด/เดือน, ยาแอมโลดิพีน รักษาความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ มีแหล่งวัตถุดิบ 3 ราย ในอินเดีย อภ.เพิ่มกำลังผลิตจาก 50 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 75 ล้านเม็ด/เดือน ส่วนยาเมทฟอร์มินใช้รักษาโรคเบาหวาน อภ.เพิ่มกำลังผลิตจาก 75 ล้านเม็ด/เดือน เป็น 106 ล้านเม็ด/เดือน

ยาลอซาร์แทน ใช้ลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีแหล่งวัตถุดิบ จำนวน 3 ราย คือ จีน 1 ราย และอินเดีย 2 ราย กำลังผลิตเป็น 27 ล้านเม็ด/เดือน ยาต้านไวรัสเอดส์ทั้ง 22 รายการ นั้น ได้เพิ่มกำลังการผลิตทุกรายการด้วยแล้วเช่นกัน โดยในภาพรวมแล้ว คาดว่า เม.ย. อภ.จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เฉลี่ย 30% และตั้งแต่ พ.ค.เป็นต้นไป จะเพิ่มกำลังการผลิตยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้ได้ถึง 50%

“อภ.ไม่นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ของวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะยุติหรือเบาบางลงเมื่อไร จึงได้ทำการหาแหล่งวัตถุดิบแหล่งใหม่สำรองเพิ่มเติมไว้อย่างต่อเนื่องแล้ว มั่นใจได้ว่า อภ.ยังคงสามารถผลิตยาได้ตามความต้องการและคงราคายาไว้ตามเดิม แม้สถานการณ์ต่างๆ จะไม่เอื้ออำนวยมากนัก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังจะยังคงมียาใช้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยบริหารจัดการและจัดสรรทยอยส่งยาให้ผู้ป่วยตามรอบการรักษา สอดคล้องกับปริมาณยาที่ อภ.จัดส่งไปสำรองทุก 1-2 เดือน โดยจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ซึ่ง สปสช. ได้จัดงบชดเชยให้หน่วยบริการเพิ่มเติมในอัตราไม่เกิน 50 บาท/ครั้ง หรือโครงการรับยาใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมียาใช้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์นี้” ภญ.มุกดาวรรณ กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/52011-เพิ่มกำลังผลิตยาโรคเรื้อรัง%20มั่นใจผู้ป่วยไม่ขาดยา%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,170
Page Views2,009,341
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view