http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนภัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอมปนยาอันตราย เสี่ยงถึงชีวิต

เตือนภัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอมปนยาอันตราย เสี่ยงถึงชีวิต

 ศูนย์ HPVC ของ อย. ได้รับแจ้งจากกระทรวงสาธารณสุขบรูไนเกี่ยวกับการเรียกคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 3 รายการ เนื่องจากตรวจพบการปลอมปนของยาอันตราย อย. ตรวจสอบพบทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ไม่ได้ ขึ้นทะเบียนกับ อย. และพบผลิตภัณฑ์ Li Da Daidaihua Weight Loss Capsule โฆษณาทางสื่อออนไลน์อ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก ย้ำวัยใสพึงระวัง !! อย่าตกเป็นเหยื่อ ไม่ผอมแถมได้โรค เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

           นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (HPVC) ได้รับแจ้งจากกระทรวงสาธารณสุขบรูไนถึงการเรียกคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 3 รายการ ได้แก่ 1. Li Da Daidaihua Weight Loss Capsule ตรวจพบอะเซตามีโนเฟน และไซบูทรามีน    2. Grow XL Capsule ตรวจพบซิลเดนาฟิล และ 3. Swiss Candy ตรวจพบทาดาลาฟิล ซึ่งเป็นยาอันตราย ทั้งนี้จากการสืบค้นข้อมูลรายงานในระบบแจ้งเตือนภัยพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 3 รายการดังกล่าว ไม่มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. และพบผลิตภัณฑ์ Li Da Daidaihua Weight Loss Capsule โฆษณาขายผ่านสื่อออนไลน์ โดยอ้างสรรพคุณในการลดน้ำหนัก จึงขอย้ำเตือนไปยังผู้บริโภคให้พึงระวัง !! อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทาน เสี่ยงไม่ผอมแถมได้โรค เพราะยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหารและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ซึ่งในตอนแรกเมื่อรับประทานไปแล้วน้ำหนักจะลด แต่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอ้างลดความอ้วน อย. มักจะตรวจพบว่ามีการลักลอบใส่สารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นอันตรายและมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งไซบูทรามีนถือเป็นยาที่ยกเลิกทะเบียนตำรับไปแล้ว ตั้งแต่ ปี 2553 โดยไม่สามารถใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเป็นยาได้ นอกจากนี้ อย. ยังได้ยกระดับไซบูทรามีนขึ้นเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภทที่ 1 ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีนจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท -   2 ล้านบาท จึงขอเตือนมายังผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอย่าฝ่าฝืนกฎหมาย ส่วนกรณีของยาทาดาลาฟิลจัดเป็นยาควบคุมพิเศษกลุ่มเดียวกับซิลเดนาฟิล ออกฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดมีข้อควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับและไต ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกแบบไม่คงที่

           รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ย้ำเตือนนักท่องเที่ยว นักช็อปออนไลน์ อย่าซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะมีสารที่เป็นอันตราย เสี่ยงสูญเงินฟรีเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า กฎหมาย รวมถึงผู้ประกอบการนำเข้าขอให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศได้ที่เว็บไซต์ HPVC http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/Webpage/main.jsp หัวข้อ สรุปข่าวความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1806?fbclid=IwAR03o-DFirlFlGFvZJMmftl1NjtKXil2vTPLimQGBtXIYOxWxlsHifc41IM

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,791
Page Views2,011,975
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view