http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะดูแลบุตรหลานใกล้ชิด เสี่ยงป่วยโรคมือ เท้า ปาก

แนะดูแลบุตรหลานใกล้ชิด เสี่ยงป่วยโรคมือ เท้า ปาก

เตือนผู้ปกครองและสถานศึกษาระวังเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก เน้นสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ข้อมูลต้นปีนี้พบผู้ป่วยกว่า 3 พันรายแล้ว พร้อมแนะ 4 วิธีป้องกันโรค หากเด็กมีอาการป่วย ซึม อ่อนแรง ชักกระตุก มือสั่น เดินเซ หอบ อาเจียน ให้รีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจติดเชื้อชนิดรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

นายแพทย์อัษฏางค์ รวยอาจิน รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ถึงแม้จะยังไม่เข้าสู่ฤดูฝน แต่ในช่วงนี้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เด็กเล็กป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ที่ผู้ปกครองและครูควรสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคนี้มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 24 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 3,244 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กและเด็กช่วงวัยเรียน โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ แรกเกิด-4 ปี (83.63%) รองลงมา อายุ 5-6 ปี (5.24%) และ อายุ 7-9 ปี (4.50%) ซึ่งจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ น่าน เชียงราย ชุมพร ลำปาง และเชียงใหม่ ตามลำดับ

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ และสามารถติดต่อจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าตุ่มแผลในปาก ที่เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น  ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปากชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

นายแพทย์อัษฏางค์ กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค ขอแนะนำ 4 วิธีในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ดังนี้ 1.การลดการสัมผัสเชื้อ เมื่อผู้ป่วยไปจับของเล่น ของใช้จะทำให้เชื้อกระจายสู่ผู้อื่นได้  หากลดการสัมผัส จะสามารถป้องกันการรับเชื้อได้ 2.หมั่นทำความสะอาดของใช้และของเล่นของเด็กเป็นประจำ เพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม 3.หมั่นให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลัง รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ และเล่นของเล่น เพื่อลดเชื้อสะสมบนมือและลดการแพร่สู่ผู้อื่น และ 4.หากพบผู้ป่วย ควรให้หยุดเรียนและรักษาจนกว่าจะหาย ควรแยกของใช้ส่วนตัวเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และไม่ควรคลุกคลีกับคนอื่นๆในครอบครัวหรือชุมชน เพื่อชะลอ การแพร่กระจายของเชื้อโรค

สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ควรมีการคัดกรองเด็กนักเรียนทุกเช้าก่อนเข้าห้องเรียน เพื่อตรวจดูนักเรียนที่มีอาการแสดงของโรค คือมีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือก้น หากพบเด็กป่วยให้แยกออกมา แจ้งผู้ปกครองให้มารับกลับและพักรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ส่วนผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบมีอาการข้างต้นควรให้หยุดเรียนและพักรักษาจนกว่าจะหาย ถ้าหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

https://www.thaihealth.or.th/Content/51345-แนะดูแลบุตรหลานใกล้ชิด%20เสี่ยงป่วยโรคมือ%20เท้า%20ปาก.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,762
Page Views2,011,946
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view