http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เลือกเนื้อหมูปลอดสารเร่งเนื้อแดง

เลือกเนื้อหมูปลอดสารเร่งเนื้อแดง

ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องรู้เท่าทันอันตรายของสารเร่งเนื้อแดงและยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด มีอันตรายแตกต่างกัน โดยสามารถสังเกตเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อนๆ เนื้อแน่น นุ่มเป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น

ข่าวการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายกับโรงฆ่าสัตว์ การอายัดสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง ยังมีให้เห็นเป็นระยะๆ ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมปศุสัตว์ กระทรวงสาธารณสุข ใช้มาตรการเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยและประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในการผลิตอาหารสัตว์โดยเด็ดขาดแล้ว

ในส่วนของประเทศไทย มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2546 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อน สารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta - agonists) กำหนดให้อาหารทุกชนิด ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกลุ่ม Beta - agonists และเกลือของสารกลุ่มนี้ เช่น สาร Ractop จะมีเกลือคือ สารแรคโตพามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Ractopamine Hydrochloride) รวมถึงสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการสร้างและ/หรือสลาย (Metabolite) ของสารดังกล่าว เช่น Metabolite ของสาร Ractopamine ได้แก่ แรคโตพามีน กลูโคโรไนด์ (Ractopamine Glucoronide) และแรคโตพามีน ไดกลูโคโรไนด์ (Ractopamine Diglucoronide)

ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในกลุ่ม Beta - agonists ผสมในอาหารสัตว์ทุกชนิด ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 เนื่องจากหากใช้เกินขนาดจะทำให้สัตว์อยู่ในสภาพถูกทรมานและส่งผลต่อผู้บริโภค

สารเร่งเนื้อแดงซึ่งมีอยู่หลายชนิด มีอันตรายแตกต่างกัน นอกจากซัลบูทามอลและแรคโตพามีน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้กันมากแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ออกมาระบุว่า มีการใช้สารซิปพาเทอรอล โดยนำสารไปผสมอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรและโคขุน เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้พลังงานจากไขมัน ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อ ในซากสุกรและโคขุน เพื่อให้มีเนื้อแดงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรในประเทศไทย ยืนยันได้ว่าไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงอย่างแน่นอน เพราะผิดกฎหมาย

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการสังเกตเนื้อหมู ที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงสีของเนื้อมีสีแดงเข้ม เนื้อแห้งกว่าปกติ มีสัดส่วนที่เป็นมันประมาณ ร้อยละ 30 และมีเนื้อแดงประมาณร้อยละ 70 หากทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง เนื้อหมูที่สัมผัสอากาศจะมีสีเข้มกว่าเนื้อหมูที่เลี้ยงปกติ ดังนั้นการเลือกซื้อ จึงควรดูเนื้อหมูที่มีสีชมพูอ่อนๆ เนื้อแน่น นุ่มเป็นมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น

"กินอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ" นอกจากผู้บริโภค ยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอันตรายของสารเร่งเนื้อแดงแล้ว ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาทั้งฟาร์มเลี้ยง โรงฆ่าสัตว์ รวมทั้งสังเกตจากเครื่องหมาย "ปศุสัตว์OK" ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ที่กรมปศุสัตว์ออกให้กับร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองว่าไม่มีสารเร่งเนื้อแดงและยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์

https://www.thaihealth.or.th/Content/50494-เลือกเนื้อหมูปลอดสารเร่งเนื้อแดง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,159
Page Views2,009,330
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view