http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ห่วง "โรคไข้หวัดใหญ่" ทำคนกรุงป่วยเพิ่ม

ห่วง "โรคไข้หวัดใหญ่" ทำคนกรุงป่วยเพิ่ม

ชาวกรุงป่วย "ไข้หวัดใหญ่" แล้ว 5.4 หมื่นราย ตาย 2 ราย สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ กลุ่มอายุ 0-14 ปีเสี่ยงเสียชีวิตง่าย แนะ 7 กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนป้องกันฟรี ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน 68 แห่ง

พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่เดือน ม.ค.–ก.ค. 62 ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 54,864 ราย เฉลี่ยเดือนละ 8,700 ราย เสียชีวิตแล้ว จำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตหลักสี่ 1 ราย และเขตบางพลัด 1 ราย ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ของประเทศ พบว่า มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มากกว่า 216,887 ราย เสียชีวิต จำนวน 16 ราย ทั้งนี้จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กทม. พบว่า อัตราป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มอายุ 0–14 ปี ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย

พญ.วันทนีย์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยต่อสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ โดยสำนักอนามัยได้แจ้งสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่และมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคแก่ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง สำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม และสำนักงานเขต พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกภาคส่วนรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และการป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือเพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค หากมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ควรปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม และสวมหน้ากากอนามัย ควรหยุดงานหรือหยุดเรียนซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

พญ.วันทนีย์ กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ 1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี 3. ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด 4. ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อเอชไอวี และ 7. ผู้ที่มีภาวะอ้วนน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งมีความเสี่ยงอาจจะเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ควรไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

https://www.thaihealth.or.th/Content/50146-ห่วง%20%22โรคไข้หวัดใหญ่%22%20ทำคนกรุงป่วยเพิ่ม.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,798
Page Views2,011,982
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view