http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เด็กไม่ควรแบกกระเป๋าเกิน 10-20 % ของน้ำหนักตัว

เด็กไม่ควรแบกกระเป๋าเกิน 10-20 % ของน้ำหนักตัว

แพทย์ชี้การสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก แนะน้ำหนักที่สามารถสะพายได้ไม่ควรเกิน 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว แนะควรใช้กระเป๋าลากหากต้องสะพายเป็นเวลานาน

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า จากข่าวที่ออกมาว่าเด็กมีอาการกระดูกสันหลังคดเกิดจากการสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10
ของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งโดยปกติเด็กควรสะพายกระเป๋านักเรียนน้ำหนักไม่เกิน 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวเด็กเช่น หากมีเด็กน้ำหนัก 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าที่เด็กสามารถถือได้ต้องไม่เกิน 3 กก. เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ากระเป๋านักเรียน 1 ใบ มีน้ำหนักสูงถึง 4 - 6 กก. การที่ต้องแบกกระเป๋าใบใหญ่ ทั้งหนักและนานอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายและส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก ในวัยอนุบาลหรือประถมต้นยังมีการทรงตัวที่ไม่ดีนักเนื่องจากอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว อีกทั้งกำลังแขนขายังไม่แข็งแรงการแบกกระเป๋าใบใหญ่และน้ำหนักมาก อาจทำให้เด็กล้มง่าย เดินลำบากมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บทั้งจากการล้มและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแบกกระเป๋า ทั้งนี้ กระเป๋านักเรียนที่ใช้อาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ และแบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง (back pack) ซึ่งแบบมือถือไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานานอาจเกิดการบาดเจ็บ และเสียสมดุลร่างกายได้มากกว่าแบบแขวนหลังแต่อย่างไรก็ตาม การแบกกระเป๋าที่หนักเป็นเวลานานจะเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บต่อโครงสร้างร่างกายโดยเฉพาะแขนไหล่และสะบัก

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคกระดูก
สันหลังคด เป็นการคดงอหรือบิดเบี้ยวของกระดูกสันหลังไปด้านข้างทำให้เสียสมดุล โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุพบบ่อยถึง 80% ในเด็ก ซึ่งแบ่งตามอายุที่เริ่มเป็น คือ 0-3 ปี 4-10 ปี และ 11-18 ปี พบบ่อยในเด็กผู้หญิงมากว่าเด็กผู้ชาย  2 กลุ่มที่ทราบสาเหตุ เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น ท้าวแสนปม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น เด็กสมองพิการ โปลิโอ กลุ่มสาเหตุนี้จะทำให้กระดูกสันหลังคดมาก  ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการโรคกระดูกสันหลังคดได้โดยสังเกตจากลำตัวของเด็กจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อเด็กยืนหันหลังจะสังเกตเห็นความสูงของระดับหัวไหล่ ความนูนของกระดูกสะบัก ระดับแนวกระดูกสะโพกที่ไม่เท่ากัน รวมถึงหน้าอก ซี่โครงด้านใดด้านหนึ่งยื่นออกมาด้านหน้า หรือให้เด็กยืนเท้าชิดกัน และให้ก้มตัวมาทางด้านหน้าใช้มือ 2 ข้างพยายามแตะพื้นจะเห็นความนูนของหลังไม่เท่ากัน หากกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน หรือต้องแบกเป็นเวลานานควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง จึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองควรสังเกตอาการของเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-13 ปี หากกระดูกสันหลังผิดรูป ไหล่สูงต่ำ ไม่เท่ากันควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันและให้การรักษาต่อไป

https://www.thaihealth.or.th/Content/49710-เด็กไม่ควรแบกกระเป๋าเกิน%2010-20%20%20ของน้ำหนักตัว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,681
Page Views2,011,865
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view