http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไข้เลือดออก ภัยต้องระวัง

ไข้เลือดออก ภัยต้องระวัง

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนจิตอาสาจะร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก่อนเข้าฤดูฝน ทั้งนี้ข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 35,482 ราย เสียชีวิตแล้ว 62 ราย มากกว่าช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2561 ที่มีผู้ป่วย 22,539 ราย เสียชีวิต 29 ราย

สำหรับการกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออก พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูงสุด รองลงมาได้แก่ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอายุระหว่าง 5-14 ปี ตามด้วยอายุ 15-34 ปี และ อายุ 35-59 ปี โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้มาจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) เมื่อถูกยุงลายกัดแล้วเชื้อที่อยู่ในน้ำลายยุงจะเข้ากระแสเลือดของผู้ที่ถูกยุงลายกัด ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่มีตัวยาหรือวัคซีนฆ่าเชื้อให้หายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้เพียงรักษาประคับประคองไปตามอาการเท่านั้น และในปีนี้เชื้อไวรัส เดงกี่สายพันธุ์ที่ 2 จากทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ระบาดมากที่สุด แต่ไม่มีเชื้อสายพันธุ์ใหม่หรือเชื้อกลายพันธุ์

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำการสังเกตอาการผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยทั่วไปจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว ส่วนอาการเด่นคือ ไข้สูงเฉียบพลัน ส่วนมากไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ อาจมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว และรักแร้ ผู้ป่วยอาการรุนแรงจะมีเลือดออกที่อวัยวะภายในร่างกาย มีโอกาสเกิดภาวะช็อก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นขอให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ห้ามใช้ยาแอสไพรินและยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด หาก 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ซึมลง ปัสสาวะสีเข้ม หรือไข้ลดแต่อาการแย่ลง ซึมกว่าเดิม เบื่ออาหาร ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

"ไข้เลือดออก" ยังเป็นโรคมฤตยูที่เราทำได้เพียงระวังป้องกันด้วยการเก็บกวาดบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับเป็นที่พักของยุง เก็บขยะ เศษภาชนะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และเก็บน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ หากทำได้เพียง "3 เก็บ" เท่านี้ เราจะสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงมิให้คนในครอบครัวและเพื่อนบ้านป่วยโรคไข้เลือดออก รวมถึงอีก 2 โรคคือโรคชิคุนกุนยาและโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่มียุงลายเป็นพาหะอีกด้วย เพราะการจะมีสุขภาพที่ดีนั้น มิใช่ซื้อขายกันได้ง่าย หากแต่ทุกคนต้องทำด้วยตัวเอง

https://www.thaihealth.or.th/Content/49429-ไข้เลือดออก%20ภัยต้องระวัง.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,202
Page Views2,009,373
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view