http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

การป้องกันเชื้อไวรัสก่อตับอักเสบเรื้อรัง

การป้องกันเชื้อไวรัสก่อตับอักเสบเรื้อรัง

เชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

ชนิดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังได้บ่อย มีดังนี้

ชนิดของไวรัสตับอักเสบ

การติดต่อของเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี

-  ไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

-  มีวัคซีนที่ป้องกันเชื้อได้

 การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง การถ่ายเลือด การใช้เข็มร่วมกัน และเพศสัมพันธ์ รวมถึงจากแม่สู่ลูกได้อีกด้วย

ไวรัสตับอักเสบซี

-  รักษาให้หายขาดได้

-  ไม่มีวัคซีนป้องกัน

 การถ่ายเลือด การใช้เข็มร่วมกันและจากแม่สู่ลูก มีโอกาสติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้น้อย

          เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้นมีความอันตราย หากได้รับเชื้อมาโดยไม่รู้ตัว ปล่อยให้โรคลุกลาม ไม่ได้รับการรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรังนำไปสู่โรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับได้ ดังนั้นประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่ใช้ยาเสพติดวิธีฉีด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ควรรับบริการตรวจคัดกรองหาเชื้อ เพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัก ฝังเข็ม หรือเจาะ โดยใช้เข็มหรือหมึกร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น มีดโกนหนวด เป็นต้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นหนึ่งในวัคซีนมาตรฐานสำหรับเด็กแรกเกิดทั่วประเทศ ดังนั้นผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนให้ครบตามนัดทุกครั้ง โดยได้วัคซีนเข็มแรกเมื่อแรกเกิด และเข็มต่อ ๆ ไป เป็นแบบวัคซีนรวมทั้งป้องกันโรคคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก และไวรัสตับอักเสบบี เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ส่วนผู้ใหญ่ หากต้องการฉีดวัคซีน ควรตรวจก่อนว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ โดยผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดทันทีที่มีโอกาส คือ 3 ครั้ง โดย ฉีดเข็มที่ 1 นับเป็นเดือนที่ 0

           ฉีดเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 1 เดือน

ฉีดเข็มที่ 3 หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

กรณีไม่สามารถฉีดได้ตามนัด สามารถฉีดเข้มที่ 2 และ 3 หลังจากวันนัดไม่เกิน 1 เดือน แต่ไม่แนะนำให้ฉีดก่อน และเมื่อฉีดเข็มที่ 3 ครบแล้ว ควรตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำ เพื่อยืนยันผล

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/652?fbclid=IwAR3cTfxgNRiJ_Rb-dYbrT-VVJnYdqFjkmUqhfvDJ_e1yUJaX3r-H7c8qAuQ

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,929
Page Views2,012,113
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view