http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ห่วงเด็กเล็กป่วย “โรคมือ เท้า ปาก” ช่วงเปิดเทอม

ห่วงเด็กเล็กป่วย “โรคมือ เท้า ปาก” ช่วงเปิดเทอม

กระทรวงสาธารณสุข ห่วงเด็กเล็กป่วยโรคมือเท้าปาก ขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน คัดกรองและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

         นายแพทย์สุขุม  กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้สถานศึกษาเปิดภาคเรียน ประกอบกับเข้าสู่ฤดูฝน สภาพอากาศที่เย็นและชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งโรคที่ควรระวังในเด็กเล็กคือ โรคมือเท้าปาก เนื่องจากมีโอกาสเกิดการแพร่กระจายโรคได้ง่าย ข้อมูลสำนักระบาดวิทยาในปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 พฤษภาคม 2562 มีผู้ป่วยสะสม 11,107 ราย พบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 1 – 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 93 โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน ซึ่งโรคมือเท้าปากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค วิธีที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล จึงขอให้ครูพี่เลี้ยงศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล หมั่นคัดกรองและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข

          ด้านนายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดต่อจากการได้รับเชื้อทางปากจากเชื้อไวรัสที่ติดมากับมือ การใช้ช้อน แก้วน้ำร่วมกัน หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพองแผลในปาก ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย บางรายอาจมีไข้ร่วมกับตุ่มพองเล็กๆ ที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และภายในช่องปาก ลิ้น และกระพุ้งแก้ม โดยตุ่มพองในปากจะอักเสบ แดง และแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น  โดยทั่วไปจะหายเองภายใน 7-10 วัน แต่หากอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ แขนขาอ่อนแรงกินอาหารหรือนมไม่ได้ ให้รีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที 

          สำหรับมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน คือ 1.ตรวจคัดกรองเด็กเป็นประจำทุกวันในตอนเช้า 2.ให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ เช่น ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องส้วม เป็นต้น 3.เด็กป่วยให้แจ้งผู้ปกครองรับกลับ และหยุดพักรักษาตัวอยู่บ้าน 4.ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือ ของใช้ ของเล่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และทุกครั้งที่พบมีเด็กป่วย 5.หากพบเด็กป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที และพิจารณาปิดห้องเรียน หรือปิดโรงเรียนชั่วคราวประมาณ 5-7 วันหากมีเด็กป่วยหลายห้อง และ 6.จัดประชุมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ ควรดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

https://www.thaihealth.or.th/Content/48929-ห่วงเด็กเล็กป่วย%20“โรคมือ%20เท้า%20ปาก”%20ช่วงเปิดเทอม.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,795
Page Views2,011,979
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view