http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

1 พ.ค. 62 พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ เพิ่มประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภค

1 พ.ค. 62 พ.ร.บ. เครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ เพิ่มประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภค

1 พฤษภาคม 2562 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เพื่อมุ่งกำกับดูแลและส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้สอดคล้องกับสากล ทั้งด้านการส่งเสริมการผลิตนำเข้าการส่งออก การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ และด้านการคุ้มครองประชาชน อันจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

         นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 โดยเป็นการแก้ไขจากพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์   พ.ศ. 2551 ให้สอดคล้องกับความตกลงอาเซียนว่าด้วยบทบัญญัติเครื่องมือแพทย์ โดยสามารถแบ่งสาระสำคัญได้ 2 ด้าน ด้านแรก คือ ด้านการส่งเสริมการผลิตนำเข้าการส่งออก การอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาอนุญาตทั้งในเรื่องการปรับปรุงค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการขึ้นบัญชีผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มผู้เชี่ยวชาญทำให้การพิจารณาอนุญาตรวดเร็วขึ้น เป็นต้น มีการปรับลดมาตรการควบคุม การส่งออกโดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านอาหารและยา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้า    อีกทั้งมีการปรับปรุงแก้ไข บทนิยามของเครื่องมือแพทย์ ให้สอดคล้องกับสากล โดยตัดนิยามเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ที่ใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ตัดนิยามเครื่องมือแพทย์ที่เป็นอุปกรณ์  หรือส่วนประกอบของเครื่องมือแพทย์และเพิ่มนิยามคำว่า “อุปกรณ์เสริม” รวมถึงเน้นการส่งเสริมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ภายในประเทศ ทั้งในด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้านที่สอง คือ ด้านการคุ้มครองประชาชน ซึ่ง พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ฯ ฉบับนี้ได้มีการปรับมาตรการควบคุมเครื่องมือแพทย์ให้เหมาะสม    ตามความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับอนุญาต เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด และเครื่องมือแพทย์ที่ต้องจดแจ้งซึ่งเป็นมาตรการใหม่ที่สอดคล้องกับสากล ตลอดจนแก้ไขบทกำหนดโทษ หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม  ทั้งนี้ ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามไม่ให้ผู้ใดขายเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ใบรับแจ้งรายการละเอียด หรือใบรับจดแจ้งเพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนให้ได้รับเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย

            “สาระสำคัญของพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เป็นการแก้ไขบางมาตราในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 เท่านั้น เพื่อให้การควบคุมกำกับ ดูแลเครื่องมือแพทย์เป็นไปตามสากล และเพิ่มการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกได้อีกด้วย” เลขาธิการฯ อย. กล่าวย้ำในตอนท้าย

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1630?fbclid=IwAR1CHbuGY0mI8_fpEvXgvcx-1UddLKvG8ztaIPGQ7kMO3B6F27VQeCbH0XQ

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,983
Page Views2,009,150
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view