http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ภัยแล้งปี62 รุนแรงในรอบ 30ปี

ภัยแล้งปี62 รุนแรงในรอบ 30ปี

กรมอนามัยเตือนภัยแล้งปี62รุนแรงในรอบ30ปีขอองค์การปกครองท้องถิ่นเน้นจัดการน้ำสะอาดปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ภัยแล้งปี62 มีแน้วโน้มจะเกิดความรุนแรงในรอบ30ปีส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำอุปโภคและบริโภคของประชาชน เพราะนอกจากปริมาณน้ำจะมีน้อยลงแล้วความสะอาดของน้ำก็ลดลงด้วย ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคจากน้ำเป็นสื่อ เช่น อหิวาตกโรค อุจารระร่วง บิด เป็นต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรเตรียมความพร้อมในการผลิตน้ำประปาให้สะอาดและเพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบประปาและระบบท่อส่งน้ำเพื่อลดปริมาณน้ำสูญเสียและลดการปนเปื้อน ที่สำคัญต้องเติมคลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปาให้มีคลอรีนหลงเหลือ 0.2-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร รวมถึงวางแผนในการสำรวจ ตรวจสอบความพร้อมของแหล่งน้ำที่มีศักยภาพในชุมชนโดยเฉพาะบ่อน้ำบาดาล ต้องตรวจสภาพ ปริมาณและคุณภาพน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงเกิดภัยแล้ง ซ่อมบำรุงรถบรรทุกน้ำ และล้างทำความสะอาดส่วนที่ใช้บรรทุกน้ำให้พร้อมอยู่เสมอ พร้อมเผยแพร่ข่าวสารให้แก่ประชาชนในการเตรียมรับมือภัยแล้งอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ควรสำรองน้ำให้เพียงพอต่อการใช้ภายในหน่วยงาน เฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในชุมชนโดยใช้ชุดทดสอบภาคสนามตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียหากเป็นน้ำประปาควรตรวจหาคลอรีนอิสระในน้ำและแจ้งผลการเฝ้าระวังดังกล่าวให้แก่หน่วยงานผลิตหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อร่วมกันจัดการคุณภาพน้ำให้สะอาด ปรับปรุงคุณภาพน้ำอย่างง่ายในครัวเรือน เช่น การใช้สารส้ม การต้ม การเติมคลอรีน และล้างภาชนะสำรองน้ำอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

สำหรับประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร และสถานประกอบการขนาดเล็ก ควรวางแผนสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงภัยแล้งเพื่อบรรเทาความรุนแรง โดยหาภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย มีฝาปิด มาสำรองน้ำไว้ใช้ในระยะเวลาหนึ่งตามอัตราการใช้น้ำ 200 ลิตรต่อคนต่อวัน ตรวจสอบภาชนะเก็บกักน้ำที่มีอยู่ เช่น โอ่ง ตุ่ม ถัง ซึ่งบางแห่งอาจจะไม่ใช้แล้ว นำมาล้างทำความสะอาดเตรียมไว้เพื่อใช้สำรองน้ำในช่วงเกิดภัยแล้ง ช่วยกันดูแลรักษาสภาพของแหล่งน้ำโดยการกำจัดวัชพืช ขุดลอก คู คลอง หนอง บึง สระ ที่เป็นแหล่งน้ำชุมชนให้สะอาดและสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น หากเกิดภัยแล้งอาจจะต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้มาผลิตน้ำประปา

“ส่วนการนำน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำและให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอนแล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ สำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 1-2 นาทีเก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/48668-ภัยแล้งปี62%20รุนแรงในรอบ%2030ปี.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,907
Page Views2,012,091
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view