http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคหัวใจและหลอดเลือดฯ คร่าชีวิตอันดับ 1 ของโลก

โรคหัวใจและหลอดเลือดฯ คร่าชีวิตอันดับ 1 ของโลก 

ปัญหา "โรคหัวใจ" เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพความเป็นอยู่ของคนในยุคปัจจุบัน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี 2558 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก โดยคิดเป็น 31% การเสียชีวิตของคนทั้งโลก ซึ่งสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน อัตราเสียชีวิต 20,855 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงต่างๆมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน อาหารการกิน และการขาดการออกกำลังกาย

นพ.กำพู ฟูเฟื่องมงคลกิจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า "อาการของผู้ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มี 2 อาการ คือ อาการเหนื่อยหอบง่าย เช่น การเดินขึ้นสะพานลอยแล้วรู้สึกเหนื่อยมากๆ กว่าปกติ หรือในบางรายที่มีอาการหนัก เพียงแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย เป็นต้น จนไม่ไหวต้องมาโรงพยาบาล  อาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะอาการเจ็บแน่นกลางอกร้าวไปหลัง

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเมื่อไปพบแพทย์แล้ว หากตรวจเจอความผิดปกติของหัวใจ ผู้ป่วยมักจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจ ซึ่งหากอายุรแพทย์โรคหัวใจดูแล้วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา เพื่อลดความรุนแรงได้ แต่หากผู้ป่วยมาด้วยอาการที่รุนแรงมาก เช่น ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบรุนแรง เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายการผ่าตัดหัวใจทั่วไปอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะในรายที่หัวใจบีบตัวได้น้อย จำเป็นต้องพิจารณาเข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่เป็นรายๆไป

โดยผู้ป่วยจะถูกส่งชื่อไปที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเพื่อเข้าคิวรอรับอวัยวะจาก ผู้บริจาค โดยจะพิจารณาจากหมู่เลือด และเนื้อเยื้อ ว่าผู้บริจาค และผู้รับบริจาค อวัยวะสามารถเข้ากันได้หรือไม่ เมื่อได้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่สามารถเข้ากันได้ ทีมแพทย์ที่ทำการรักษาจะแบ่งเป็น 2 ทีม คือ

ทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และทีมที่ต้องไปเก็บอวัยวะจากผู้บริจาค เพื่อนำมาให้ทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหัวใจ แต่ความยากของการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจนั้นอยู่ที่ระยะเวลา เพราะทีม

ที่ผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ กับทีมที่ไปเก็บอวัยวะจากผู้บริจาค ตามโรงพยาบาลต่างๆ ต้องวางแผนในการทำงานแข่งกับเวลา เพราะหัวใจจะต่างจากอวัยวะอื่นๆ คือ เมื่อนำหัวใจออกจากร่างกายผู้บริจาคแล้ว จะมีเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนหัวใจให้กับผู้รับบริจาคให้เรียบร้อย หากหัวใจถูกนำออกจากร่างกาย

ผู้บริจาคนานกว่า 4 ชั่วโมง คุณภาพของหัวใจที่ได้รับบริจาคมาจะแย่ลง และเมื่อผ่าตัดเปลี่ยนให้คนไข้แล้วอาจจะทำงานได้ไม่ดี ฉะนั้นทั้ง 2 ทีมจะต้องเตรียมวางแผนกันอย่างดี เพื่อคุณภาพในการผ่าตัดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย

หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจแล้ว คนไข้ต้องมาตรวจติดตามการรักษาตามแพทย์นัดอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิทำให้ร่างกายรับการติดเชื้อง่าย แพทย์จะทำการเจาะเอากล้ามเนื้อหัวใจที่ได้รับการเปลี่ยนไปตรวจเป็นระยะ ว่ามันมีการปฏิเสธระหว่างอวัยวะผู้บริจาค และร่างกายของผู้ป่วยหรือไม่ ถ้ามีการปฏิเสธกันก็จำเป็นต้องปรับระดับยา เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธหัวใจที่ปลูกถ่าย เพราะถ้าร่างกายปฏิเสธ จะทำให้หัวใจที่เปลี่ยนไปทำงานไม่ปกติ ซึ่งจะไม่ดีต่อร่างกายของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมาก จากอาการที่เหนื่อยง่าย ในบางรายนั่งเฉยๆ ก็มีอาการเหนื่อย ก็จะหายไป สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ และออกกำลังได้ตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยจะได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ และสามารถทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และประเทศชาติได้

อย่างไรก็ตามโรคหัวใจเป็นปัญหาที่ทุกคนควรตระหนัก เนื่องจากมีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคหัวใจส่วนมากมักเกิดจากหลายปัจจัย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือโรคอื่นๆ ที่นำไปสู่อาการโรคหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น สามารถป้องกันด้วยวิธีง่ายๆ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มสุรา - การสูบบุหรี่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ - ไม่เครียดกับงาน และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาภาวะความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ เพื่อจะได้รักษาได้ทันเวลา - เพิ่มโอกาสในการรักษา และถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที"

โดยในแต่ละปีโรงพยาบาลราชวิถี รองรับผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่า 23,000 ราย หรือเฉลี่ยมากถึง 90 รายต่อวัน เปิดดำเนินการรักษามาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2518 มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมาแล้ว 67 ราย และยังมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หัวใจอื่นๆ หลอดเลือด และปอดเฉลี่ยปีละ 600 – 700 ราย อีกทั้งยังเป็นศูนย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจครบวงจร มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อีกทั้งยังเป็นสถาบันหัวใจแห่งแรกที่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดพร้อมกันที่เรียกว่า Domino Heart Transplantation ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย รวมถึงมีการรักษาผู้ป่วยเป็นกรณีๆ มาแล้วมากมาย พร้อมทั้งยังเป็นสถาบันที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจที่เก่าแก่ที่สุดของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อบรมสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่ไปช่วยดูแลสุขภาพประชาชนทั่วประเทศอีกด้วย

ดังนั้น... เดือนแห่งความรัก กุมภาพันธ์นี้ อย่าลืมดูแล "หัวใจ" ของคุณและสมาชิกคนในครอบครัวคุณให้แข็งแรง...

https://www.thaihealth.or.th/Content/47714-โรคหัวใจและหลอดเลือดฯ%20คร่าชีวิตอันดับ%201%20ของโลก%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,440
Page Views2,011,623
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view