http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

มพบ. ยื่นเอกสาร ต่อ คกก.แก้ไขฯ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณายุติการใช้พาราควอต

มพบ. ยื่นเอกสาร ต่อ คกก.แก้ไขฯ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณายุติการใช้พาราควอต 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ 2 องค์กร ยื่นเอกสาร ‘อันตรายจากพาราควอต’ ต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อประกอบการพิจารณายุติการใช้พาราควอต

          จากการที่กลุ่มผู้คัดค้านการยกเลิกสารพาราควอตได้เข้ายื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง

          วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2562) คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง มีการประชุมและนำเอกสารของกลุ่มผู้คัดค้านการยกเลิกสารพาราควอตเข้าสู่การพิจารณาด้วย ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เห็นว่าข้อมูลของกลุ่มผู้คัดค้านเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเป็นพิษ ทั้งพิษเฉียบพลัน พิษเรื้อรัง การตกค้างในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิธีการจัดการเพื่อทดแทนการใช้สารพาราควอตและความจำเป็นในการใช้ของคนบางกลุ่ม
          มพบ. จึงร่วมกับ สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สสอบ.) และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) ยื่นเอกสาร “ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาตร์และหลักฐานเชิงประจักษ์ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
: พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต” ต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาฯ และขอให้ใช้ข้อมูลชุดดังกล่าวประกอบการพิจารณาด้วย เนื่องจากเอกสารดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เกิดจากเวทีเสวนา “ข้อเท็จจริงทางวิชาการมีการควบคุมสารเคมีอันตราย: พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส” ซึ่งมีความรอบด้าน และเหมาะสมต่อการพิจารณา
          สำหรับวิธีการจัดการเพื่อทดแทนการใช้สารพาราควอตและความจำเป็นในการใช้ของบางกลุ่มนั้น มพบ. ได้ร่วมกับ คอบช. สำรวจนโยบายของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลต่อการใช้สารพาราควอตในเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งหมด 47 บริษัท พบว่ามี 7 กลุ่มบริษัท ซึ่งเป็ฯบริษัทขนาดใหญ่ครองตลาดจำนวนมาก ได้แก่บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด (ตราลูกโลก) โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (ตรากุญแจคู่) บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด บริษัท ประจวบอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท น้ำตาลนครเพชร จำกัด และบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ซูการ์คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) มีนโยบายลดและเลิกใช้อย่างชัดเจน ส่วนบริษํทที่ยังไม่มีนโยบายลดการใช้สารพาราควอตบอกว่า หากในอนาคตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมติยกเลิกก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม

          จากผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลมีความพร้อม สามารถปรับตัวตามนโยบายของรัฐได้ จึงเป็นภารกิจของรัฐที่จะกำหนดนโยบายเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมรวมถึงผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตาม ดังนั้น มพบ. จึงอยากขอให้แก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบคอบและรอบด้าน โดยคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนในประเทศเป็นหลัก ก่อนการลงมติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง

https://www.consumerthai.org/news-consumerthai/consumers-news/food-and-drug/4309-620206paraquat.html?fbclid=IwAR1ITuv_xPmhFUT5Km-SOu0IzRbDZxahR4hOPFsIkI9g48SSmnQFep2LA0Y

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,744,097
Page Views2,009,267
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view