http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สรุปแนวทางขั้นปฏิบัติ 4 ระดับของปัญหาฝุ่น

สรุปแนวทางขั้นปฏิบัติ 4 ระดับของปัญหาฝุ่น

กรมควบคุมมลพิษ เผย สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พื้นที่ กทม.-ปริมณฑล ลมพัดอ่อน ปริมาณฝุ่น เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน เกินค่ามาตรฐาน 24 พื้นที่ คาดช่วงบ่ายมีลมพัด ปริมาณฝุ่นละอองมีโอกาสเจือจางลงได้

           กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้า พื้นที่ กทม.และปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า อากาศลอยตัวได้ดี แต่ลมพัดอ่อน ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM2.5 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานโดยเฉลี่ยประมาณ 7 มคก./ลบ.ม. ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม. ) 24 พื้นที่ โดย

          พื้นที่ริมถนน เกินค่ามาตรฐาน 16 สถานี พื้นที่ทั่วไป เกินค่ามาตรฐาน 8 สถานี คาดการณ์ ในช่วงบ่ายของวันนี้ อากาศยังลอยตัวได้ดี มีลมพัดแรงขึ้น ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองมีโอกาสเจือจางลงได้

          จากมติคณะกรรมการควบคุมมลพิษ (กก.คพ.) เพื่อหารือแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ใน กทม.และปริมณฑล เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62 ได้สรุปแนวทาง ในขั้นปฏิบัติ เป็น 4 ระดับ ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ดังนี้

          ระดับที่ 1 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าน้อยกว่า 50 มคก/ลบ.ม. ซึ่งส่วนราชการทุกหน่วยจะปฏิบัติภารกิจ ตามอำนาจหน้าที่ และกฎหมายที่มีอยู่ในสภาวะปกติ

          ระดับที่ 2 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 50 - 75 มคก/ลบ.ม. หน่วยงานทุกหน่วยต้องดำเนินมาตรการต่างๆให้เข้มงวดขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในพื้นที่ของตนเอง

          ระดับที่ 3 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 75 - 100 มคก/ลบ.ม. โดยเมื่อค่าฝุ่นละอองจากระดับที่ 2 ไม่ลดลง นิ่งนาน และคาดการณ์แล้ว ว่าจะสูงขึ้นอีก ต้องยกมาเป็นระดับ ที่ 3 โดย กก.คพ. จะจัดการประชุมเพื่อหามาตรการในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการในการควบคุมแหล่งมลพิษ โดยเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งผู้ว่าราชการ ปริมณฑลทั้ง 5 จังหวัด ในการที่จะใช้ พรบ.การสาธารณสุข และ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือกฎหมายอื่นๆ เพื่อแก้ไข ควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่อประชาชน

          ระดับที่ 4 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกิน 100 มคก./ลบ.ม. ทั้งนี้ "เมื่อมีการดำเนินการใน"ระดับที่ 3" แล้วสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ยังไม่ลดลง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเกินกว่า 100 มคก/ลบ.ม. ต่อเนื่องยาวนาน ก็จะมีการประชุม กก.วล. เป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ "ในการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก" โดยจะนำเสนอเพื่อกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา "ในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง"

          ทั้งนี้ ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 และจัดส่งให้ กทม. ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์กรณีสถานการณ์อยู่ในระดับ 2 และ 3 เพื่อใช้ในการปฏิบัติการต่อไปโดยมี คพ.ร่วมสนับสนุน

http://www.thaihealth.or.th/Content/47127-สรุปแนวทางขั้นปฏิบัติ%204%20ระดับของปัญหาฝุ่น.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,856
Page Views2,009,022
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view