http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนขนมขบเคี้ยว กลุ่มเสี่ยงอาหารโซเดียมสูง

เตือนขนมขบเคี้ยว กลุ่มเสี่ยงอาหารโซเดียมสูง

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เผยขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็กอุดมทั้งน้ำตาล ที่ให้ความหวาน และโซเดียมที่ให้ความเค็ม โดยมักแฝงตัวอยู่ในซุปก้อนและขนมแทบทุกชนิด ทำให้มีรสชาติอร่อย แต่ร่างกายกลับได้รับโซเดียมมากเกินไปในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ โรคไต ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน และโรคหัวใจและหลอดเลือด ในอนาคต

               นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน คือ 1 ช้อนชา เทียบเท่าปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม แต่จากการศึกษาพบว่า ในซุปก้อน 10 กรัม มีปริมาณโซเดียมสูงถึง 1,760 มิลลิกรัม ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน หากรวมถึง ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆที่เด็กชื่นชอบ พบว่ามีปริมาณโซเดียมสูงเช่นกัน ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า มันฝรั่งทอดแผ่น 1 ห่อ (30กรัม) มีโซเดียม 170 มิลลิกรัม เฟรนซ์ฟราย 60 กรัม มีโซเดียม 220 มิลลิกรัม ซอส 1 ช้อนกินข้าว มีโซเดียม 340 มิลลิกรัม โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 1 ถ้วย มีโซเดียม 1,120 มิลลิกรัม น้ำปลา 1 ช้อนกินข้าว มีโซเดียม 1,300 มิลลิกรัม น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนกินข้าว มีโซเดียม 385 มิลลิกรัม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ มีโซเดียม 1,500 มิลลิกรัม

               นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเด็กๆ รับประทานขนมหรืออาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป จะทำให้เลือดเสียสมดุล ไตทำงานหนักจนเกิดอาการเสื่อม ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรลดการบริโภคโซเดียม โดยการหลีกเลี่ยงการปรุงรสเพิ่ม หลีกเลี่ยงขนมกรุบกรอบและอาหารแปรรูปที่โซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง นอกจากนี้ ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ เลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ส่งเสริมให้เด็กบริโภคผักผลไม้เป็นประจำ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หากพ่อแม่ผู้ปกครองปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมตั้งแต่เด็ก  ลดหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของบุตรหลานในระยะยาว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นจะมีผลต่อรูปแบบการกินอาหารไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

http://www.thaihealth.or.th/Content/46821-เตือนขนมขบเคี้ยว%20กลุ่มเสี่ยงอาหารโซเดียมสูง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,465
Page Views2,011,648
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view