http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ยุค 4.0

นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ยุค 4.0

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและความพิการอันดับหนึ่งในประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จากสถิติในแต่ละปีพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันมากกว่า 250,000 ราย และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 50,000 รายต่อปีทั้งนี้การรักษาที่รวดเร็วถูกต้องและทันเวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายเป็นปกติหรือลดอัตราความพิการลงได้

ทั้งนี้ จากคอลัมน์ก้าวทันหมอของรพ.จุฬาฯ เผยว่า นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ล่าสุดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่กำลังเป็นที่จับตามองในแวดวงสาธารณสุขไทย และประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเฉียบพลันร้ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที นั่นก็คือ “ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรด้วยโทรเวชกรรม (Telemedicine)” ซึ่งได้รับการคิดค้นและดำเนินการโดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมยุค 4.0 (Innovation in Stroke Care 4.0) ที่แพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างไร้พรมแดนโดยผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบวีดีโอช่วยลดอุปสรรคด้านเวลาและระยะทางในการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อมาพบแพทย์ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งกับการให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเฉียบพลันและต้องการการรักษาในวินาทีชีวิตอย่างเร่งด่วน

ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรด้วยโทรเวชกรรม(Telemedicine) ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา อันมีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและความพิการอันดับหนึ่งในประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทั้งนี้ การรักษาที่รวดเร็ว ถูกต้องและทันเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายเป็นปกติหรือลดอัตราความพิการลงได้ ในฐานะผู้นำและเป็นต้นแบบของการรักษาผู้ป่วยสมองขาดเลือดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์ฯจึงได้พัฒนาการใช้ระบบโทรเวชกรรมเพื่อรับปรึกษาการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะต่างๆ แบบครบวงจร ตั้งแต่ก่อนผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเครือข่ายจะเดินทางมาถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องถึงบ้าน ดังนี้

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเพื่อการให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลเครือข่าย ศ.พญ.นิจศรีกล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยในฐานะโรงพยาบาลแม่ข่ายในการรับปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีโรงพยาบาลเครือข่ายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 15 แห่ง มีผู้ป่วยที่รับปรึกษาและส่งต่อประมาณ 140 รายต่อปี มีการพัฒนาระบบการส่งต่อแบบใหม่ที่เรียกว่า “Drip and Ship Program” โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯ คอยให้คำปรึกษาแก่แพทย์ในโรงพยาบาลเครือข่ายและร่วมดูแลผู้ป่วยผ่านทางระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบวีดีโอ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินการให้ยาละลายลิ่มเลือดที่โรงพยาบาลเครือข่าย และพิจารณาการส่งผู้ป่วยต่อมายังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อรักษาด้วยการใช้อุปกรณ์พิเศษดึงลากลิ่มเลือดออกจากหลอดเลือดสมองอีกทั้งการพัฒนาระบบการส่งข้อมูลผู้ป่วยในระบบทางด่วนสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า “CU FAST TRACK” บนสมาร์ทโฟน เพื่อให้การส่งข้อมูลปรึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ภายนอกโรงพยาบาล ผ่านทางโทรเวชกรรมโดยหุ่นยนต์คุณหมอ ครงการนี้มีบทบาทอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ ณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งแพทย์ประจำบ้านสามารถปรึกษาอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่นอกโรงพยาบาลในช่วงหลังเวลาราชการได้ตลอดเวลาผ่านทางโทรเวชกรรมโดยหุ่นยนต์คุณหมอทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็วและทันเวลา อีกทั้งยังสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ว่ามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด ทั้งนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นโรงพยาบาลของรัฐแห่งแรกที่ใช้หุ่นยนต์คุณหมอ (Stroke Robot) ในการร่วมดูแลผู้ป่วย ซึ่งหุ่นยนต์ Stroke Robot นี้ได้ติดตั้งอยู่ที่ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหอผู้ป่วยวิกฤติ

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องถึงบ้าน โดย Home HealthCare Robot ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล และสำนักงานอาสากาชาด หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาช่วงแรกในระยะเฉียบพลันที่โรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยและญาติมักจะเกิดความกังวลใจในการกลับไปดูแลต่อเนื่องเองที่บ้าน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำโดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งอาจตรวจไม่พบขณะที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือบางรายอาจมีความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะยาว เป็นต้น ศูนย์ฯ จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์คุณหมอขนาดเล็กให้ผู้ป่วยนำกลับไปที่บ้านด้วย ซึ่งหุ่นยนต์นี้สามารถประเมินสภาวะของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยทางโทรเวชกรรม รวมถึงการเตือนให้รับประทานยาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ อีกทั้งมีวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วยด้วย

โครงการคลินิกโทรเวชกรรม คลินิกโทรเวชกรรม เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ จะมีบทบาทในการให้บริการ “Teleconsultation”โดยแพทย์จากโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ประสาทศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และให้การรักษาที่เหมาะสมก่อนส่งผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือบางรายอาจไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมายังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คลินิกโทรเวชกรรมยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการจากแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งจัดให้มีบริการ“Teleneurology Clinic” เพื่อตรวจติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทผ่านโทรเวชกรรม ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาจะสามารถปรึกษาปัญหาผู้ป่วยร่วมกันแบบ One-Stop Service ซึ่งเป็นต้นแบบของการรับปรึกษาด้วยระบบ Teleneurologyในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์หลายท่าน รวมถึงช่วยลดระยะเวลารอพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาและรับยาอีกด้วย

http://www.thaihealth.or.th/Content/46535-นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย%20โรคหลอดเลือดสมอง%20ยุค%204.0.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,220
Page Views2,011,403
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view