http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ใช้ยาอย่างเหมาะสมลดความเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ

ใช้ยาอย่างเหมาะสมลดความเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ

ยารักษาโรคไม่ว่าจะยาแผนปัจจุบัน หรือยาจากสมุนไพร ล้วนมีทั้งฤทธิ์รักษาและผลข้างเคียง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถเข้าใจและป้องกันแก้ไขได้

การป้องกันและการเฝ้าระวังโรคตับที่เกิดจากยา

1.       ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น ไม่ใช้ยาเกินขนาดหรือระยะเวลายาวนานเกินฉลากหรือเอกสารกำกับยาระบุ

2.       สังเกตอาการตับอักเสบ เมื่อได้รับยาที่มีความเสี่ยงเกิดพิษต่อตับสูง ได้แก่ อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง (มักปวดในตำแหน่งใต้ชายโครงขวา) ตัว ตาเหลือง  คันตามผิวหนัง ปัสสาวะสีเข้มและอุจจาระสีซีด

3.       หากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ หรือมียาที่ใช้ประจำ รวมถึงดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดพิษต่อตับ

ยาที่มีผลข้างเคียงต่อตับนั้น มีจำนวนมาก แต่มีบางกลุ่มยาที่มีโอกาสก่อให้เกิดพิษต่อตับได้บ่อย ควรต้องได้รับการเฝ้าระวังการใช้ยา ดังนี้

-         ยาแก้ปวด/ยาลดไข้ : พาราเซตามอล (Paracetamol) ,ไดโคลฟีแนค (Diclofenac)

-         ยารักษาวัณโรค : ไอโซไนอะซิด (Isoniazid), ไรแฟมพิซิน (Rifampicin), ไพราซินาไมด (Pyrazinamide)

-         ยาลดไขมันในเลือด : ซิมวาสะแตติน (Simvastatin) , อะทอร์วาสะแตติน (Atorvastatin)

-         ยากันชัก : คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), เฟนิโทอิน (Phenytoin)

-         ยาต้านจุลชีพ : อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ,ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ,ฟลูโคนาโซล (fluconazole)

-         สมุนไพรที่มีความเป็นพิษต่อตับ: ขี้เหล็ก, บอระเพ็ด

ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรที่จะกังวลว่ายาจะเป็นพิษต่อตับจนเกินความจำเป็น เพราะยาไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น อายุ โรคประจำตัว หรือพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น และอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ หากเป็นกังวลจนไม่ใช้ยารักษาโรคประจำตัว ซึ่งเราสามารถป้องกันโรคตับที่เกิดขึ้นจากยาได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ยาอย่างระมัดระวังภายใต้การแนะนำของแพทย์และเภสัชกร

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_printing/1721?fbclid=IwAR36NQnKfFEHW5xBKdh1C4HlZxf1mkp7vBSALe6kwQRIaMtT2ZZwUT3l3lI

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,390
Page Views2,011,573
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view