http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ย้ำซ้ำ!!!! ข่าวยาพารามีไวรัสปนเปื้อน ไม่เป็นความจริง อย่าเชื่อ อย่าแชร์

ย้ำซ้ำ!!!! ข่าวยาพารามีไวรัสปนเปื้อน ไม่เป็นความจริง อย่าเชื่อ อย่าแชร์

อย.ย้ำอย่าเชื่อ อย่าแชร์ข่าวลวงในโลกออนไลน์ ยาพาราเซตามอลปนเปื้อนไวรัสแมคชูโป ไม่เป็นความจริง หากพบว่ายาใดมีการปนเปื้อนจะต้องมีการแจ้งเตือน เรียกเก็บยาคืนไม่ให้นำออกมาจำหน่าย ขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบก่อนแชร์ข้อมูลได้ทาง Application อย. เช็ก ชัวร์ แชร์ 

          นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า  จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์อ้างถึงสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง เผยแพร่ข่าว ห้ามกินยาพาราที่มีชื่อว่า P/500 เม็ดยาสีขาวและเคลือบมันจนเป็นประกาย เพราะมีไวรัสแมคชูโปปนเปื้อน มีอันตรายถึงตายนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เชื้อแมคชูโปไวรัส เป็นเชื้อที่ไม่สามารถเจริญเติบโตในที่แห้ง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ยาพาราเซตามอลจะปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้ตามปกติ

          รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอความร่วมมือว่าอย่าแชร์ข้อความดังกล่าวต่อ เพราะจะเป็นการสร้างความตระหนกให้กับผู้อื่น ทั้งนี้ ยาที่ผลิตในประเทศไทยต้องใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา (GMP) เพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และ อย. มีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ทั้งก่อนและหลังออกสู่ตลาด หากพบว่ายาใดมีการปนเปื้อนของสารอันตรายไม่ปลอดภัยในการใช้ อย.จะเรียกเก็บยาคืน และแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคทราบทันที ขอผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะแชร์ข้อมูลต่อ เพราะที่ผ่านมามักมีการส่งต่อข้อมูลสุขภาพที่ผิด ๆ ในโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง และมักวนกลับมา เป็นระยะ เช่น ชุดชั้นในมหัศจรรย์รักษาโรค ครีมนวดลดเอว พอกหน้าขาวด้วยแอสไพริน เป็นต้น  ซึ่งกรณีนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ทาง Application อย. เช็ก ชัวร์ แชร์ หรือเข้าผ่านทาง Line : FDAThai หรือทางเว็บไซต์ oryor.com

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1527?fbclid=IwAR3IBUMBTIuNVV05UjX5udWVYW2bUL8D3bckqSDHBYV4SyGsL5LR-sKJMg4

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,218
Page Views2,011,401
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view