http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ย้ำ!! อย. ไม่อนุญาต เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของหนังหุ้มปลายองคชาตทารก

ย้ำ!! อย. ไม่อนุญาต เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของหนังหุ้มปลายองคชาตทารก

เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของหนังหุ้มปลายองคชาตเด็กทารกจัดเป็นเครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า หากตรวจพบจะดำเนินการตามกฎหมาย

          นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเทคนิคการเสริมความงามจากต่างประเทศที่เรียกว่า พีนีสเฟเชียล (Penis Facial) หรือ Hollywood EGF Facial ซึ่งเป็นการนำหนังหุ้มปลายองคชาตเด็กทารก มาผสมทำเป็นทรีตเม้นท์ และโฆษณาระบุว่า สามารถเยียวยา ชะลอวัย และบำรุงผิว โดยมีความเชื่อในต่างประเทศว่าบริเวณปลายองคชาตของทารกนั้นมีเซลล์ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างคอลลาเจน และอีลาสติน เชื่อว่าเมื่อนำเซลล์มาผสมฉีดใบหน้าจะลดริ้วรอยได้ แต่ไม่ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอแจ้งว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของหนังหุ้มปลายองคชาตเด็กทารก จัดเป็นเครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ.2559 ที่กำหนดให้เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมนุษย์ เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ เนื่องจากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อโรค เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมเหล่านี้เด็ดขาด นอกจากนี้ การโฆษณาสรรพคุณว่าสามารถเยียวยา ชะลอวัย เป็นการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่าการเป็นเครื่องสำอาง หากตรวจพบจะดำเนินการ ตามกฎหมาย

          รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ  ต่าง ๆ การซื้อเครื่องสำอางต้องดูฉลากผลิตภัณฑ์และสูตรส่วนประกอบ อย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องสำอาง      ที่โอ้อวดสรรพคุณ หรือมีส่วนผสมของวัตถุห้ามใช้ เพราะเป็นเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะกรณีของหนังหุ้มปลายองคชาต มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วย หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556  ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1526?fbclid=IwAR1cY200BpvCD5pPi_EdyhRjeB55mpG6vQTtNDlDIn4Zcz3pMax1QWcpayw

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,451
Page Views2,011,634
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view