http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนโรคหัด

เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนโรคหัด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนโรคหัด และนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนตามเกณฑ์

นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โรคหัด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ปกครองจึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และหากผู้ป่วยหอบหายใจเหนื่อย กินไม่ได้ ซึม ไม่ปัสสาวะ ผู้ปกครองควรรีบนำผู้ป่วยพบแพทย์โดยด่วน

โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัส Measles เชื้อจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย หากผู้ไม่มี ภูมิคุ้มกันสูดหายใจเอาละอองที่มีเชื้อเข้าไปจะทำให้เป็นโรคหัดได้ อาการคล้ายกับไข้หวัด คือ มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ แห้ง ๆ ตาแดงแฉะ ระคายเคืองตา หลังไข้ 3-4 วัน ผู้ป่วยอาจเริ่มมีผื่นขึ้นเริ่มจากหลังหูบริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา ลักษณะผืนนูนแดงติดกันเป็นปืน ๆ ผืนจะคงอยู่นาน 5-6 วัน และค่อย ๆ จาง หายไปใน 2 สัปดาห์ หลังผืนขึ้น 2-3 วัน อาการไข้ของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ดีขึ้นแต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ภาวะอุจจาระร่วงจนขาดน้ำ ภาวะปอดอักเสบหรือภาวะสมองอักเสบ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ปกครองจึงควรสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการหนัก ได้แก่ อาการหอบ หายใจเร็ว อาการซึม ไม่เล่น กินน้ำและอาหารได้น้อย หรือไม่กินเลย และการไม่ปัสสาวะ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้อย่างรั้งรอ ให้นำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที หรือสามารถใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินศูนย์นเรนทร สงขลา โทรศัพท์สายด่วน โทร.1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับสถานการณ์โรคหัด 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,280 ราย เสียชีวิต 18 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.74 (ข้อมูล ณ 14 พ.ย. 61) ส่วนจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 203 ราย อัตราป่วย 14.41 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 รายในอำเภอสะบ้าย้อย กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ 0-4 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 111.68 ต่อประชากรแสนคน อำเภอที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ สะบ้าย้อย เทพา คลองหอยโข่ง (ข้อมูล ณ 15 พ.ย. 61) โดยผู้ป่วยหนักจะมีภาวะแทรกซ้อน และสภาวการณ์ขาดสารอาหารร่วมด้วย

ในสถานการณ์ที่มีโรคหัดระบาด ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชน หลีกเลี่ยงการนำเด็กเล็กไปสัมผัสกับผู้ป่วย หากมีผู้ป่วยโรคหัดในบ้านให้แยกผู้ป่วยออกจากเด็กคนอื่น ๆ ในบ้านและบริเวณใกล้เคียง และให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อดำเนินการควบคุมโรค และหากผู้ป่วยเป็นเด็กนักเรียน หรืออยู่ศูนย์เด็กเล็ก ให้หยุดเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ

นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล กล่าวเน้นย้ำว่า วิธีป้องกันโรคหัดที่สำคัญและได้ผลดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน โดยผู้ปกครองสามารถนำบุตรหลานไปรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ได้ฟรี ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ซึ่งเข็มแรกฉีดเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง เป็นต้นไป สำหรับบุตรหลานที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีนให้ครบโดยด่วน

ทั้งนี้ ขอเน้นย้ำว่าวัคซีนที่ใช้อยู่ได้รับคำวินิจฉัยจากสำนักจุฬาราชมนตรี และสภานิติศาสตร์อิสลามนานาชาติในองค์การ ที่ประชุมอิสลาม (OIC) แล้วว่าถูกหลักศาสนาอิสลาม และสามารถฉีดได้

http://www.thaihealth.or.th/Content/45959-เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนโรคหัด.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,252
Page Views2,011,435
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view