http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

2,000 รายสังเวยชีวิตต่อปี ‘หืด’ โรคร้ายใกล้ตัว

2,000 รายสังเวยชีวิตต่อปี ‘หืด’ โรคร้ายใกล้ตัว

“โรคหืด” (Asthma) คือโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากความไวผิดปกติของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้ท่อทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบ และทำให้หายใจลำบาก โดยอาการของโรคหืดหอบนั้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น หลอดลมจะเกิดอาการอักเสบ เยื่อบุหลอดลมจะบวมทำให้หลอดลมตีบแคบลง 

โรคหืดจึงเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการตั้งแต่สร้างความไม่สะดวกเล็กๆ น้อยๆ ไปจนอันตรายถึงแก่ชีวิต ทำให้แวดวงสาธารณสุขต้องให้ความรู้แก่ประชาชน ดังเมื่อเร็วๆ นี้ มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี 2561 “โรคหืดในทศวรรษใหม่” จัดโดยสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย

ศ.นพ.สมเกียรติ วงษ์ทิม ประธานสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (Thai Asthma Council, TAC) เปิดเผย ว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคหืดถึงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ จากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดมีแนวโน้มเสียชีวิต มากกว่า 2,000 รายต่อปี ทางสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหอบหืด พร้อมยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และการเข้าถึงการบริการเพื่อนำไปสู่พัฒนาการด้านการรักษา และจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคหืดยังไม่มีทางรักษาที่หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วย จึงเป็นการควบคุมอาการให้ผู้ป่วย ใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติ อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหืดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้และยาที่พัฒนามากขึ้น ด้วยความร่วมมือกันของ 5 สมาคมวิชาชีพ

ได้แก่ สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย, สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย, สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย จึงมีการจัดทำแนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคหืด ฉบับใหม่“Thai Asthma Guideline for Adults 2019” เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาในระดับสากล และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เช่นเดียวกับ ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูลนายกผู้รั้งสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การดูแลรักษาคนไข้โรคหืด ต้องดูแลแบบองค์รวม ทั้งการรักษาใช้ยาและไม่ใช้ยา จากการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมนอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวเฟซบุ๊คแฟนเพจ“Asthma Talk by Dr.Ann” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ การจัดการโรคภูมิแพ้ และโรคร่วมอื่นๆ ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหืดแย่ลง

“ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎี “4Es” ที่คิดค้นขึ้นมาเอง นั่นคือการให้ผู้ป่วยหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Eating) อีกส่วนสำคัญคือ สิ่งแวดล้อม (Environment) คนไข้โรคหืดจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ และที่สำคัญที่สุดคือ อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ในภาวะที่คนไข้เครียด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน จะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีง่าย ที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้” ศ.พญ.อรพรรณ กล่าว

ทางด้าน ผศ.นพ. ธีระศักดิ์ แก้วอัมตวงศ์เลขาธิการสมาคมสภาองค์กรโรคหืดฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ยังได้แถลงโครงการร่วม ระหว่างสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ และสมาคมสภา องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ริเริ่มโครงการ Severe Asthma Registry Program Thailand (SARP-T) ซึ่งเป็นการสร้างฐานข้อมูล ของคนไข้โรคหืดรุนแรงในประเทศไทยอย่างเป็นระบบโดยการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรงในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย

ประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราชโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์โดยตั้งกลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจด้านโรคหลอดลม มีพันธกิจในการจัดมาตรฐานแนวทาง การวินิจฉัย การรักษาและจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดรุนแรงในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ

เพื่อหาลักษณะทางคลินิก การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหาดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรง ให้เห็นถึงอุบัติการณ์ ความชุก และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรง นำไปใช้ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด และนำไปสู่การแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) อันจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรการแพทย์ ในการนำไปใช้รักษาคนไข้ในพื้นที่บริการได้

รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย(Easy Asthma and COPD Clinic Network) เปิดเผยว่า การรักษาในปัจจุบันมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมานอนที่โรงพยาบาล แต่หากพิจารณาภาพรวมของคนไข้โรคหืด ในประเทศไทย กลับพบว่า ยังมีคนไข้ที่เสียชีวิตจากโรคหืดอยู่มาก โรคนี้พรากชีวิตคนไข้ไปทุกวัน เป็นเพราะสัดส่วนของคนไข้โรคหืดทั้งประเทศที่เข้าถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานมีเพียงร้อยละ 30

“เป็นความท้าทายของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่จะทำอย่างไรให้คนไข้ส่วนที่เหลืออีก 70% สามารถเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานการรักษา และการใช้ยาให้ถูกต้องและถูกวิธี โดยเป้าหมายสำคัญคือ Asthma Admission rate near zero หรือทำให้คนไข้โรคหืดมีอัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเข้าใกล้ศูนย์” รศ.นพ.วัชรากล่าวในท้ายที่สุด

http://www.thaihealth.or.th/Content/45814-2,000%20รายสังเวยชีวิตต่อปี%20‘หืด’%20โรคร้ายใกล้ตัว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,428
Page Views2,011,611
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view