http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

จุฬาฯ วิจัยแอนติบอดีต้านมะเร็งเฟส 2 แล้ว

จุฬาฯ วิจัยแอนติบอดีต้านมะเร็งเฟส 2 แล้ว

แพทย์จุฬาฯ เดินหน้านวัตกรรมการรักษามะเร็งสู่การวิจัยผลิตยาต้านมะเร็งจากภูมิคุ้มกันตัวเองเพื่อคนไทย ล่าสุด วิจัยแอนติบอดีต้านมะเร็งเฟส 2 แล้ว

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าวแพทย์จุฬาฯ ก้าวไกล...สร้างนวัตกรรมการรักษามะเร็ง ว่า จุฬาฯ มีความพร้อมในทุกศาสตร์ของโรคมะเร็ง และเพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยเข้าถึงสิทธิการรักษาอย่างเท่าเทียม โครงการรักษาด้วยแอนติบอดีเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จุฬาฯ วิจัยพัฒนาเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริงต่อสังคม ซึ่งต้องใช้เวลาและมีงบสนับสนุนต่อเนื่อง

          นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การรักษามะเร็งส่วนใหญ่จะใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน การใช้ยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริมถ้าโรคใดไม่สามารถรักษาเฉพาะที่ได้เช่นเดียวกับการใช้แอนติบอดีก็เป็นหนึ่งในการรักษาเสริม อย่างไรก็ตาม ภูมิคุ้มกันมนุษย์มีหลายชนิดและจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์เป็นตัวทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ โดยอวัยวะต่างๆ จะผลิตเซลล์ที่ชื่อว่าพีดี-แอล 1 ซึ่งเป็นโมเลกุลในเม็ดเลือดขาวมาจับตัวกับเซลล์พีดี-1 หรือโมเลกุลบนเซลล์มะเร็ง เพื่อยับยั้งไม่ให้ทำงานเกินไปและทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายกลับสู่สมดุล ดังนั้น เทคโนโลยีการผลิตยาต้านมะเร็งจากภูมิคุ้มกันเป็นการค้นหาแอนติบอดีเพื่อยับยั้งไม่ให้เซลล์พีดี-แอล 1 มาจับคู่กับพีดี-1 ทำให้ทีเซลล์ทำงานได้ต่อเนื่อง สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ ขณะนี้ ทีมนักวิจัยจุฬาฯ ได้ค้นพบแอนติบอดีต้นแบบ 1 ตัว สามารถหยุดการทำงานไม่ให้พีดี-1 และพีดี-แอล 1 มาจับคู่กันได้ ให้ผลในหลอดทดลองใกล้เคียงกับยาแอนติบอดีของต่างประเทศ

          ทั้งนี้ การผลิตยาจะทำทั้งหมด 5 เฟส ขณะนี้ เฟส 1 คือ การผลิตยาแอนติบอดีต้นแบบจากหนู เราทำสำเร็จแล้ว ได้ต้นแบบมา 1 ตัว สามารถพัฒนาเฟส 2 คือ การปรับปรุงแอนติบอดีให้มีความคล้ายของมนุษย์ ตั้งเป้าภายในปี 2566 จะมียาใช้ทดลองในผู้ป่วยได้ การวิจัยพัฒนายารักษามะเร็งขึ้นเองในประเทศไทย เพราะขณะนี้ ต้องนำเข้ายาดังกล่าว จากต่างประเทศ 100% ยากลุ่มนี้จึงมีราคาแพง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการรักษา.

http://www.thaihealth.or.th/Content/45380-จุฬาฯ%20วิจัยแอนติบอดีต้านมะเร็งเฟส%202%20แล้ว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,327
Page Views2,011,510
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view