http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

จัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย

จัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย

หลัง อย. - กสทช. ร่วมผนึกกำลังจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้อย่างประสบผลสำเร็จ สามารถสกัดกั้นโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดเกินจริง และดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว  อย. - กสทช. วางแนวรุกขยายการดำเนินงานทั่วประเทศ เพื่อจัดการปัญหาโฆษณาเกินจริงอย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา พร้อมรุกคืบพื้นที่ต่อไปทางภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ หวังผลสร้างกลไกการตรวจสอบ เฝ้าระวัง ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การกำกับดูแลการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นภารกิจที่ กสทช. และ อย.ต่างก็มีอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมายของตนเอง โดยที่สำนักงาน กสทช. มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเฉพาะการกำกับดูแลการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ ก่อนหน้านี้ การทำงานเป็นลักษณะที่แต่ละหน่วยงานต่างทำงานไปภายใต้ระบบของตนเอง ทำให้การพิจารณาข้อร้องเรียนแต่ละเรื่องกว่าจะได้ข้อยุติและสิ้นสุดกระบวนการต้องใช้เวลาค่อนข้างนานอย่างน้อย 6 เดือน หรือบางกรณีอาจใช้เวลานานร่วมปี นอกจากนี้ บทลงโทษต่อการกระทำความผิดกรรมเดียวกันยังอาจต้องรับโทษ 2 ทาง ทำให้อาจเกิดความซ้ำซ้อนและเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ทาง กสทช. จึงได้ร่วมกับ อย. ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมขึ้นใน สำนักงาน กสทช. โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงานมานั่งทำงานร่วมกัน เมื่อมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นหรือการตรวจพบการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยและชี้มูลได้ทันที โดยปัจจุบันสามารถสรุปเรื่องให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 วัน ซึ่งถือว่าเร็วมาก และสามารถพิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียนหรือกรณีการโฆษณาผิดกฎหมายที่ตรวจพบได้เป็นจำนวนมาก

กสทช.พลโท ดร.พีระพงษ์ กล่าวอีกว่า จากการปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ก่อให้เกิดการตื่นตัวและปรับตัวของผู้ประกอบการอย่างกว้างขวางเนื่องจากโทษทางปกครองสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิดตามกฎหมาย กสทช. นั้นค่อนข้างสูง ทำให้ปัญหาการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การจัดการปัญหาการโฆษณาอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับพื้นที่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์อย่างแท้จริง จึงได้กำหนดนโยบายร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลการดำเนินการไปยังส่วนภูมิภาค โดยมีกระบวนการดำเนินการ คือ มีการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาร่วมกันระหว่าง สำนักงาน กสทช. ภาค / เขต และ สสจ. โดย สสจ. ซึ่งได้รับมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก อย. จะให้ความเห็นเกี่ยวกับการโฆษณานั้น ๆ ทั้งนี้ อาจประสานสำนักงาน กสทช. ในส่วนภูมิภาคในเรื่องการเฝ้าระวังและการหาข้อมูล หลักฐานต่างๆ แล้วส่งผลการวินิจฉัยมายัง กสทช. ส่วนกลาง เพื่อดำเนินการกำกับดูแลต่อไป

นายแพทย์ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ได้เห็นความสำคัญในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยจะมีการดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ เช่น ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง  เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทางไม่ให้มีโฆษณาเผยแพร่ผ่านสื่อออกมาหลอกลวงผู้บริโภค  ซึ่งการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายนั้น จำเป็นต้องดำเนินงานเชิงรุก ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันของเครือข่ายทั้งภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด (สสจ.)  และภาคประชาชน เช่น เครือข่ายผู้บริโภค และในวันนี้ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงความตั้งใจจริงของหน่วยงานทั้งภาครัฐและ ภาคประชาชนที่จะร่วมมือกันสร้างกลไกในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง อย่างเข้มแข็งและช่วยกันแก้ไขปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางสื่อวิทยุกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนมากถึง สามพันกว่าแห่ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน เพื่อคุ้มครองประชาชนชาวไทย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโฆษณาที่โอ้อวด หลอกลวง ซึ่งอาจเสียทั้งเงินและเสียทั้งโอกาสในการรักษาโรค รวมไปถึงอาจเสียชีวิตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยอีกด้วย

นายแพทย์ธเรศ  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า อย. ได้เห็นความสำคัญในการปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานจากเดิม ซึ่งที่ผ่านมามีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของคณะทำงานจาก อย. และ สำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง โดยมีกระบวนงานใหม่ที่ร่วมกันพิจารณาเนื้อหาการโฆษณาที่ออกอากาศหรือกระจายเสียง ทำให้ลดขั้นตอนเวลาการทำงาน ส่งผลให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทั้งในส่วนของสำนักงาน กสทช. และกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ ถือเป็นรูปแบบที่เข้มแข็งและชัดเจนทำให้เห็นภาพการแก้ไขปัญหาโฆษณาที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา อย. ได้ดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการโฆษณาฝ่าฝืนกฎหมาย ในปีงบประมาณ 2561 มากถึง 529 คดี โดยแบ่งเป็นอาหาร 361 คดี ยา  81 คดี เครื่องมือแพทย์ 13 คดี และเครื่องสำอาง 74 คดี โดยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการแถลงข่าวและจัดประชุมผู้รับผิดชอบงานด้านโฆษณา เพื่อสร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง  สำนักงาน กสทช. ภาคและเขต  และในวันนี้ (วันที่ 18 ตุลาคม 2561) ได้มีการขยายรูปแบบการทำงานดังกล่าวลงสู่พื้นที่เขตจังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ โดยคาดหวังให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างบูรณาการ เป็นรูปธรรม  ตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด  ภายใต้วิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  และจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศในโอกาสต่อไป

http://www.thaihealth.or.th/Content/45277-จัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,126
Page Views2,011,308
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view