http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้ทันภัยสารเคมีเรียนรู้ป้องกัน แก้ไขถูกวิธี

รู้ทันภัยสารเคมีเรียนรู้ป้องกัน แก้ไขถูกวิธี 

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนเมื่อประสบอุบัติภัยสารเคมี โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของสารเคมี สังเกตสิ่งผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีสารเคมีรั่วไหล ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ใช้งานสารเคมี กรณีประสบอุบัติภัยสารเคมี ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาระงับเหตุ ออกให้ห่างจากจุดที่เกิดอุบัติภัยสารเคมี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น รวมถึงห้ามระงับเหตุสารเคมีรั่วไหลด้วยตนเอง

          นายนายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า อุบัติภัยสารเคมีเป็นภัย ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสถานที่ผลิต สถานที่จัดเก็บ และกระบวนการขนส่ง โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม มีความเสี่ยงต่อการประสบเหตุสารเคมีรั่วไหล เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยเมื่อประสบอุบัติภัยสารเคมี โดยการเตรียมพร้อมรับมืออุบัติภัยสารเคมี ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของสารเคมี อาทิ สัญลักษณ์ ประเภท คุณสมบัติและอันตรายของสารเคมี ลักษณะและรูปทรงของถังบรรจุสารเคมี เพื่อป้องกันอันตราย และใช้เป็นข้อมูลในการระงับเหตุอุบัติภัยสารเคมี สังเกตสิ่งผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีสารเคมีรั่วไหล อาทิ มีไอหรือควันจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็นรุนแรง มีเสียงดังผิดปกติบริเวณสถานประกอบการ น้ำในแหล่งน้ำมีกลิ่นเน่าเหม็น และสัตว์น้ำตายจำนวนมาก จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยสารเคมี อาทิ หน้ากากอนามัย ผ้าสะอาดสำหรับปิดจมูกและปาก แว่นตากันฝุ่นละออง ถังดับเพลิงเคมี จะช่วยลดการสูดดมไอระเหยของสารเคมี เข้าสู่ร่างกาย การปฏิบัติตนกรณีประสบอุบัติภัยสารเคมี ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาระงับเหตุ โดยให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุ ลักษณะของเหตุการณ์ กลิ่น สี ประเภทของสารเคมี ปริมาณของสารเคมีที่รั่วไหล จำนวน และอาการของผู้ได้รับอันตราย หากพบเห็นอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมี ควรให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะ และรูปทรงของถังบรรจุสารเคมี หมายเลขสหประชาชาติ และสัญลักษณ์บนถังบรรจุสารเคมี ออกให้ห่างจากจุดที่เกิดอุบัติภัยสารเคมี โดยอพยพไปอยู่บริเวณด้านเหนือลม หรือที่สูง ซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวกในระยะไม่ต่ำกว่า 300 เมตร หากกำลังขับรถ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสไอระเหยของสารเคมี หรือก๊าซพิษ ใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าสะอาดชุบน้ำปิดปากและจมูก เพื่อลดการสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้อุบัติภัยสารเคมีรุนแรงมากขึ้น โดยห้ามประกอบกิจกรรมที่ทำให้เกิดประกายไฟบริเวณที่สารเคมี เพราะจะทำให้เกิดระเบิดและเพลิงไหม้ อีกทั้งห้ามสัมผัสภาชนะบรรจุหรือสารเคมีที่รั่วไหล เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายที่มากขึ้น ห้ามระงับเหตุสารเคมีรั่วไหลด้วยตนเอง

ทั้งนี้เนื่องจากสารเคมีแต่ละประเภทมีวิธีการจัดการและระงับเหตุที่แตกต่างกัน รวมถึงต้องใช้เครื่องมือป้องกันสารพิษ ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่กั้นเป็นเขตอันตราย เพราะเสี่ยงต่อการได้รับไอระเหยของสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ห้ามจอดรถ หรือขับรถผ่านบริเวณที่มีสารเคมีรั่วไหล เพราะจะก่อให้เกิดประกายไฟ ระเบิดและเพลิงลุกไหม้ได้ ห้ามเปิด ท้ายรถบรรทุกสารเคมีที่ประสบอุบัติเหตุ หรือเปิดภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วไหลโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์รุนแรง และขยายวงกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่างถูกวิธีเมื่อเกิดอุบัติภัยสารเคมี จะช่วยลดผลกระทบและลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมี

http://www.thaihealth.or.th/Content/44451-รู้ทันภัยสารเคมีเรียนรู้ป้องกัน%20%20แก้ไขถูกวิธี%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,212
Page Views2,011,395
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view