http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แพทย์เผยขี้หูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ไม่ต้องแคะ

แพทย์เผยขี้หูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ไม่ต้องแคะ

แพทย์เผยรูหูทำความสะอาดตัวเองได้ ชี้ขี้หูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เตือนแคะ-ปั่นบ่อยเสี่ยงติดเชื้อ รุนแรงแก้วหูทะลุ แนะดูแลสุขภาพหูอย่างถูกวิธี

ถ้าพูดถึงเรื่องของพฤติกรรมการแคะ แกะ เกา อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหู ซึ่งหลังอาบน้ำเสร็จบางคนก็ติดเป็นนิสัยต้องปั่นเป็นประจำทุกเช้าเย็น แต่ลอกนึกดูว่าถ้าเราปล่อยให้เหนียว จนมีน้ำไหลออกมาจากหู โดยไม่เคยแคะเลยจะรู้สึกยี้มากแค่ไหน 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าขี้หูเป็นสิ่งสกปรกในร่างกายที่ต้องกำจัดออก จึงแคะหรือปั่นหูบ่อยๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ขี้หูมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอม ช่วยเคลือบช่องหู และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถ้าไม่มีขี้หูจะทำให้รูหูแห้งและคันได้ 

โดยที่จริงแล้ว "รูหูของคนเรา" มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดตัวเอง ขี้หูและผิวหนังที่หลุดลอกจะค่อยๆ เคลื่อนที่ออกมาที่ปากรูหูและหลุดออก ดังนั้นการทำความสะอาดหูโดยใช้ไม้พันสำลีแคะหู ใช้น้ำหยอดหู จึงไม่มีความจำเป็น ยกเว้นในบางคนที่ขี้หูเหนียวและเคลื่อนออกมาช้า ทำให้ขี้หูรวมตัวกันเป็นก้อนภายในรูหู (Cerumen impaction) จึงเกิดอาการหูอื้อ ปวดแน่นในหู กรณีนี้ควรพบแพทย์ เพื่อทำความสะอาดรูหู ไม่ควรแคะเอง เพราะจะทำให้ขี้หูอุดตันถูกดันลึกมากขึ้น 

นอกจากนี้การแคะหูบ่อยๆ อาจทำให้เกิดรอยถลอกหรือแผลในรูหู ก่อให้เกิดการอักเสบของหูชั้นนอก ทำให้มีอาการปวดหู หูอื้อ มีน้ำไหลจากหู และอาจมีเยื่อแก้วหูทะลุได้ กรณีขณะแคะหูอยู่แล้วมีคนหรือสัตว์ชนแขน หรือเดินชนอะไรก็ตาม บ่อยครั้งที่ไม้พันสำลีถูกกระแทกเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู ดังนั้นการดูแลรักษาหู คือ หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกาหู ใช้เพียงผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณนอกรูหูเท่านั้น

ส่วนวิธีการรักษาหูชั้นนอกอักเสบ ที่ง่ายที่สุดคือการป้องกัน โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการแคะหูบ่อยๆ และเมื่อเกิดการอักเสบของหูชั้นนอกแล้ว การรักษาทำได้โดยการทำความสะอาดหูโดยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอด และให้ยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการปวดในรูหู 

และกรณีที่มีเยื่อแก้วหูทะลุจากอุบัติเหตุแคะหู ทำให้การได้ยินแย่ลง ซึ่งรูทะลุสามารถปิดเองได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ระหว่างนี้ผู้ป่วยต้องระวังป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู แต่ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุไม่ปิด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อปะเยื่อแก้วหูให้ผู้ป่วย 

ทั้งนี้ถ้ามีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเรื่องหู เช่น การได้ยินแย่ลง มีน้ำไหลจากหู ปวดหู มีเสียงดังผิดปกติในหู หูอื้อ สามารถปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

http://www.thaihealth.or.th/Content/44346-แพทย์เผยขี้หูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ%20ไม่ต้องแคะ.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,147
Page Views2,011,329
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view