http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.เตือนอย่าเชื่อ เอริส!!! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โฆษณาเกินจริง

อย.เตือนอย่าเชื่อ เอริส!!! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โฆษณาเกินจริง 

พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอริส ดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx และ เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ โฆษณาเกินจริงอวดอ้างลดน้ำหนักทางสื่อออนไลน์ เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อย. ดำเนินการระงับโฆษณา เร่งแจ้งดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย

          นพ. พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์ เอริสดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx และ เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ แล้วมีอาการถ่าย นอนไม่หลับ อาเจียน เวียนหัว อย. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบ พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอริส ดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx และ เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ ใช้เลขสารบบอาหารเดียวกัน คือ 11-1-11054-1-0378 และเมื่อตรวจสอบเฟซบุ๊กชื่อ “อาหารเสริมลดน้ำหนักเอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ ดีลเลอร์ใหญ่ จ.นครปฐม”, “P.a.Moto”, “วรินธร เกษงาม” และ“เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์” พบการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โอ้อวดสรรพคุณ ลดน้ำหนัก ขับไขมันส่วนเกินไม่กดประสาท หน้าอกกระชับ หน้าใส นอกจากนี้ ยังมีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่ระบุผู้ผลิต สถานที่ผลิตและวันผลิต/วันหมดอายุ จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารพบว่าบริษัทผู้ผลิตตั้งอยู่ที่ จ. สมุทรปราการ  แต่ผู้ดำเนินกิจการแจ้งว่าไม่เคยดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ เอริส (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด และทางบริษัท ได้แจ้งยกเลิกเลขสารบบอาหารนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงเข้าข่ายอาหารปลอม ผู้ใดผลิต จำหน่าย อาหารปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ อย. ได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณาดังกล่าวแล้ว รวมทั้งดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว

           รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง หากผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วมีอาการผิดปกติหรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข  จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

https://oryor.com/oryor2015/print-detail.php?cat=44&id=1599

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,322
Page Views2,011,505
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view