http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

“ไซบูทรามีน”ผลข้างเคียงสูง เสี่ยงโรคหัวใจ 2 เท่า

“ไซบูทรามีน”ผลข้างเคียงสูง เสี่ยงโรคหัวใจ 2 เท่า

เปิดงานวิจัย “ไซบูทรามีน” พบช่วยน้ำหนักลดแค่ 6 เดือนแรก จากนั้นไม่ลดแล้ว หากหยุดกินเกิดโยโยเอฟเฟกต์ทันที ขณะที่ผลข้างเคียงมีมาก เป็นสาเหตุบริษัทสมัครใจถอนทะเบียน ห่วงลักลอบใช้ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า เหตุไม่รู้อันตราย ไม่มีการตรวจติดตามหัวใจ ชีพจร ความดัน

ภก.จิระ วิภาสวงศ์ ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไซบูทรามีนเป็นการสมัครใจที่จะเพิกถอนทะเบียนออกจากตลาดของบริษัทยา ซึ่งนอกจากประเด็นผลกระทบทางสุขภาพแล้ว ยังอาจมาจากความไม่ชัดเจนที่จะช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ เพราะหากกินไปเรื่อยๆ น้ำหนักก็น่าจะลดเรื่อยๆ แต่มีข้อมูลศึกษาว่า พอกินไปถึงระยะเวลา 6 เดือน ก็เริ่มนิ่งไม่ลดไปกว่านั้น แต่หากเลิกกินก็เกิดโยโยเอฟเฟกต์ ส่วนผลทางคลินิกโดยการใช้ของผู้ประกอบวิชาชีพก็ไม่ชัดเจนว่า เกิดผลกระทบมากแค่ไหน จึงเกิดการยกเลิกแบบสมัครใจ ทำให้มีปัญหาทางกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่มีการยกเลิกสูตรนี้ ไซบูทรามีนไม่ได้ถูกถอน ดังนั้น ถ้ามีผู้ผลิตรายหนึ่งขอขึ้นทะเบียนก็สามารถทำได้

“ปัจจุบันยาไซบูทรามีนเป็นยาควบคุมพิเศษ เพียงแต่ไม่มีผู้ผลิตรายใดไปขอขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อผลิตหรือนำเข้า ดังนั้น หากมีการผลิตหรือขายจึงถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนที่ยังมีการพบไซบูทรามีนอยู่นั้น ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าเหมือนกับสเตียรอยด์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษเช่นกันว่า มีการแอบขายกันอยู่หรือไม่ หรือโรงงานผลิตที่ถูกตั้งข้อสงสัยมาตลอดว่า ขายอย่างไม่มีหลักฐานหรือไม่ เพราะเวลารายงานก็ไม่พบความผิดปกติ แต่เหตุใดท้องตลาดถึงมียาสเตียรอยด์ มีไซบูทรามีนเต็มไปหมด ยาเหล่านี้มาจากไหน ทำไมเวลาไปจับแล้วเจอ แต่ศุลกากรบอกตรวจการนำเข้าไม่เจอ ถ้าแก้ตรงนี้ไม่ได้ ก็ยังคงมีอยู่ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักต่อไป” ภก.จิระ กล่าว

ภก.จิระ กล่าวว่า ขณะที่ตัวกฎหมายเองก็ยังมีข้อจำกัด เพราะแม้จะมีโทษทั้งจำทั้งปรับ แต่ส่วนใหญ่เราจับผู้ผลิตไม่ได้ เพราะผู้ผลิตคือจะต้องตรวจเจอในโรงงาน ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ขาย ซึ่งศาลก็จะปรานีโดยเป็นแค่โทษปรับ โทษจำคุกก็รอลงอาญา ส่วนโทษปรับก็ไม่ได้ปรับเต็มจำนวน แต่ปรับขั้นต่ำก่อน เช่น ทำความผิดครั้งที่ 1 ปรับ 20% ของจำนวนโทษปรับ อย่าง 2 หมื่นบาทก็ปรับแค่ 2 พันบาท จึงเชื่อว่าตรงนี้ทำให้เกิดการลุกลาม และรูปแบบการขายก็จับลำบาก เพราะเป็นการขายตรงแบบไม่มีหน้าร้าน บางครั้งส่งทางบริษัทรับขนส่งก็ไม่มีการตรวจสอบ การจะเอาผิดตลาดออนไลน์ก็ทำได้แค่เพียงการเอาผิดฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโฆษณาโอ้อวดเป็นเท็จ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกระดับไซบูทรามีนให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 เพื่อให้มีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น

ภก.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า มีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพของไซบูทรามีนในคนไข้โรคอ้วน 600 กว่าคน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม พบว่า จากการใช้ไซบูทรามีนต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน สามารถช่วยลดน้ำหนักลงมาได้จริงจาก 100 กิโลกรัม เหลือ 90 กิโลกรัม จากนั้นนำผู้ป่วยที่ผ่านช่วง 6 เดือนแล้วมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกหยุดไซบูทรามีนและกินยาหลอก พบว่า น้ำหนักกลับขึ้นมาเหมือนเดิม กับกลุ่มที่กินต่อจนครบ 2 ปี น้ำหนักก็ไม่ลดต่อ คือ ได้แค่คงที่ ดังนั้น ประสิทธิภาพของไซบูทรามีน คือ ช่วยน้ำหนักลดลงช่วงแรก จากนั้นจะช่วยให้คงสภาพ แต่เมื่อหยุดก็กลับมาอ้วนเหมือนเดิม ประสิทธิภาพจึงไม่ได้ดีมาก ขณะที่อาการข้างเคียง มักพบอาการนอนไม่หลับ ปากแห้ง ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น คนที่กินจึงมักบ่นว่าเกิดอาการใจสั่น สมัยที่ยังไม่ถอนทะเบียน ในสหรัฐอเมริกาจึงมีคำแนะนำว่า ช่วงแรกที่รับประทานต้องติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ดังนั้น การที่บริษัทยอมเพิกถอน เมื่อมีการลักลอบใช้ แปลว่าเสี่ยง 2 เท่า เพราะลักลอบใช้โดยไม่รู้อันตราย และคนกินไม่มีการตรวจติดตาม หัวใจ ชีพจร ความดันเป็นอย่างไร พอความดันและหัวใจสูงขึ้น นานๆ ก็จะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ที่เสียชีวิตก็เพราะเกิดโรคนี้

http://www.thaihealth.or.th/Content/43341-“ไซบูทรามีน”ผลข้างเคียงสูง%20เสี่ยงโรคหัวใจ%202%20เท่า.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,107
Page Views2,011,289
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view