http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สพฐ.สุ่มตรวจโครงการอาหารกลางวัน

สพฐ.สุ่มตรวจโครงการอาหารกลางวัน 

สพฐ.สุ่มตรวจโครงการอาหารกลางวัน พบมีคุณภาพ-บางแห่งท้องถิ่นส่งเงินล่าช้า

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า  ตามที่ สพฐ.ได้ส่งคณะกรรมการลงไปตรวจเยี่ยมโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 13 - 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 5 โรงเรียน ใน 4 จังหวัด อาทิ โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี, โรงเรียนวัดหงส์ปทุมาวาส จ.ปทุมธานี โรงเรียนอนุบาลราชประสิทธิ์ จ.นนทบุรี, โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล จ.นครปฐม และโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.สมุทรสงคราม ทั้งนี้ เพื่อติดตามเรื่องการบริหารงบประมาณ คุณภาพอาหาร โภชนาการ สุขอนามัย การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมในเรื่องการจัดสรรงบฯ พบว่าส่วนใหญ่ท้องถิ่น หรือเทศบาล จัดสรรงบให้ตามจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนแจ้ง และมีการจัดสรรงบให้ภาคการศึกษาละ 1 ครั้งก่อนวันเปิดภาคเรียน บางโรงเรียนได้รับการจัดสรรงบให้ 50 วันต่อ 1 ครั้ง บางโรงเรียนได้รับงบแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด งวดละ 50 วัน และมีบางโรงเรียนได้รับงบจาก ท้องถิ่นล่าช้า ทางโรงเรียนจึงได้นำงบค่าอาหารกลางวันที่เหลือจ่ายจากปีที่ผ่านมา เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันรับประทานอย่างทั่วถึง

ส่วนเรื่องคุณภาพอาหาร โภชนาการ สุขอนามัย พบว่าโรงเรียนดำเนินการตาม โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน (กพด.) บางโรงเรียนคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในเรื่องอาหารกลางวัน มีใบรับรองอาหาร Green Food และคุณภาพลักษณะครบถ้วนตาม ระเบียบคำสั่งพัสดุ ด้วยวิธี (e-bidding) โดยแบ่งช่วงชั้นในการจ่ายอาหารแบบ Delivery food ออกเป็น 4 ช่วง ๆละ 1 สถานประกอบการ ได้แก่ ช่วงปฐมวัย ช่วงชั้น ป.1 - ป.2 , ป.3-ป.4 และ ป.5-ป.6 เพื่อลดการซ้ำซ้อน นอกจากนี้ ยังมีบางโรงเรียนบริหารจัดการโดยจ้างแม่ครัวมาปรุงอาหารเอง ตามแบบ Thai school Lunch มีการตั้งคณะกรรมการและคณะร่วมตรวจสอบ เป็นไปตามหลักโภชนาการ

“จากผลการสุ่มตรวจเยี่ยม 5 โรงเรียน ใน 4 จังหวัด ภาพรวมนับว่าจัดได้มีคุณภาพ เช่นที่ ร.ร.อนุบาลราชประสิทธิ์ นนทบุรี เขต 2 ได้รับงบฯอาหารกลางวันจากเทศบาลเมืองนนทบุรี ครั้งละ 50 วัน แต่ภาคเรียนนี้โรงเรียนยังไม่ได้รับงบ ทางโรงเรียนก็แก้ปัญหาโดยใช้งบค่าอาหารกลางวันที่เหลือมาจากภาคการศึกษาที่ผ่านมา และโรงเรียนได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในเรื่องอาหารกลางวัน มีใบรับรองอาหาร Green Food และคุณภาพลักษณะครบถ้วนตาม ระเบียบคำสั่งพัสดุ ด้วยวิธี (e-bidding) มาจัดอาหารโดยแบ่งเป็นช่วงชั้นเด็กปฐมวัยและเด็กชั้นประถมฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า แต่ละโรงเรียนส่วนใหญ่ มีคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลอย่างใกล้ชิด” นายบุญรักษ์ กล่าว และว่า ระยะต่อไป ช่วงปลายเดือน มิ.ย. - ก.ค.นี้ สพฐ.จะส่งคณะกรรมการ ลงไปตรวจสอบเต็มพื้นที่ เพื่อสุ่มกลุ่มเป้าหมาย ก่อนนำผลสะท้อนกลับมาดูว่าส่วนไหนที่จัดอาหารกลางวันได้ดีแล้วนำไปต่อยอด และจุดไหนที่จะต้องปรับปรุงพัฒนา และดูแลอย่างเต็มรูปแบบ ในการจัดโครงการอาหารกลางวัน

http://www.thaihealth.or.th/Content/43208-สพฐ.สุ่มตรวจโครงการอาหารกลางวัน%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,361
Page Views2,011,544
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view