http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

'ฟันปลอมออนไลน์'-เสี่ยงช่องปากพัง

'ฟันปลอมออนไลน์'-เสี่ยงช่องปากพัง

กรมการแพทย์  ห่วง 'ฟันปลอมออนไลน์'-เสี่ยงช่องปากพัง เตือน ก่อนทำฟันปลอม ควรได้รับคำแนะนำและประเมินก่อนการรักษาตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนสั่งซื้อฟันปลอมทางเฟซบุ๊ก ซึ่งมีการโฆษณาและเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ฟันปลอมที่ซื้อมานั้นไม่ได้มาตรฐานและไม่เหมาะสมกับสภาพช่องปาก ไม่สามารถเทียบได้กับการรักษาจากทันตแพทย์ แม้หาซื้อง่ายโดยสั่งซื้อทางออนไลน์ แต่ฟันปลอมเหล่านี้แทบจะไม่ช่วยในการบดเคี้ยว อาจส่งผลให้เกิดอันตรายในช่องปาก เช่น เกิดการสบฟันที่ผิดปกติ เกิดแผลจากการกัดสบของฟันบริเวณลิ้นหรือกระพุ้งแก้มและลุกลามกลายเป็นแผลเรื้อรัง เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก นอกจากนี้ฟันปลอมที่สั่งซื้อมาอาจไม่ได้ขนาด แน่นหรือหลวมเกินไป ใส่แล้วรู้สึกเจ็บจากการออกแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้และสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น ก่อนทำฟันปลอม ควรได้รับคำแนะนำและประเมินก่อนการรักษาตามขั้นตอนโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

ทพ.บุญชู สุรีย์พงษ์ ผอ.สถาบันทันตกรรม กล่าวว่า ฟันปลอมทำขึ้นเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันธรรมชาติแทนที่ฟันที่หายไป โดยทำฐานในการยึดจากทั้งอะครีลิกและโลหะ แบ่งเป็นฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งชิ้น จะทำเพื่อทดแทนในกรณีที่ไม่มีฟันเหลืออยู่เลย และฟันปลอมชนิดถอดได้เฉพาะซี่ เป็นการใส่เพื่อช่วยไม่ให้ฟันซี่ที่เหลือล้มเปลี่ยนตำแหน่ง ช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น การทำฟันปลอมเริ่มจากการพิมพ์หรือหล่อเนื้อเยื่อช่องปากที่รองรับฟัน ใช้แบบพิมพ์ฟันในการสร้างแบบจำลองปากคนไข้ และสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองดังกล่าว แล้วทดลองนำมาใส่ในช่องปากของคนไข้ เพื่อการสบฟันที่ถูกต้อง โดยลักษณะรูปร่างมีความสวยงาม ทั้งนี้ ก่อนการทำฟันปลอมต้องมีการเตรียมช่องปาก เช่น อุดฟันซี่ที่ผุ ขูดหินปูน หรือถอนฟันซี่ที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ รวมถึงวัสดุเครื่องมือที่ใช้ต้องได้มาตรฐาน มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง และควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลช่องปากและการทำความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกวิธีจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

http://www.thaihealth.or.th/Content/42540-%20'ฟันปลอมออนไลน์'-เสี่ยงช่องปากพัง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,380
Page Views2,011,563
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view