http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

สธ. เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เผยประเทศไทยยังคงมาตรการเข้มข้นตามระบบที่วางไว้อย่างต่อเนื่องใน 3 ระดับ ปัจจุบันไม่พบผู้เดินทางติดเชื้อเข้ามาในประเทศไทยแต่อย่างใด พร้อมแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย และหลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

นายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวองค์การอนามัยโลก ให้ข้อมูลว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DR Congo) นั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่ได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ และยังไม่ได้ประกาศห้ามการเดินทางไปยังประเทศที่พบการระบาด

          สำหรับประเทศไทย ยังคงดำเนินมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาตามระบบที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง และเข้มข้นทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ 1.ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 2.โรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน และ 3.ในระดับชุมชน โดยเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่ระบาดในทุกๆ ช่องทางเข้า-ออก ทั้งที่ด่านสนามบิน ด่านท่าเรือ และด่านชายแดน และติดตามอาการจนครบ 21 วันตามมาตรฐานที่กำหนด หากมีไข้จะรับเข้าดูแลในโรงพยาบาลที่จัดเตรียมไว้ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด เพื่อให้การรักษาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และจะติดตามอาการผู้สัมผัสทุกคน

ทั้งนี้ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตราย ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นโรคที่ต้องรายงานเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หากหลีกเลี่ยงไม่รายงานจะมีโทษตามกฎหมาย คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป มีดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย   2.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร  ส่วนอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว

          นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า กรมควบคุมโรค ได้สั่งการให้มีการเตรียมพร้อมที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันจะไม่พบผู้เดินทางติดเชื้อเข้ามาในประเทศไทย ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทุกราย จะต้องมารายงานตัวและตรวจวัดไข้ที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศก่อนอนุญาตให้เข้าประเทศ ซึ่งหากพบผู้ที่สงสัยก็จะมีระบบรองรับทั้งการตรวจ การกักตัวเพื่อรักษา รวมทั้งการสอบสวนควบคุมโรค ต่อไป ประชาชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

http://www.thaihealth.or.th/Content/42424-เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,446
Page Views2,011,629
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view