http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.เผยชื่อพยาธิ5ชนิด ปนเปื้อนอาหารเข้าร่างกาย

อย.เผยชื่อพยาธิ5ชนิด ปนเปื้อนอาหารเข้าร่างกาย 

อย.เผยชื่อพยาธิ 5 ชนิด ปนเปื้อนอาหารเข้าสู่ร่างกาย สังเกตรอยบวมแดงเคลื่อนตำแหน่ง คันก้นระวังพยาธิวางไข่ อย่าเชื่อบีบมะนาวฆ่าตัวอ่อนแค่เนื้อเปลี่ยนสี

กรณีกระแสข่าวเรื่องของพยาธิที่ปนเปื้อนในอาหาร แม้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ก็มีหลายคนยังคงมีคำถามสงสัยหลายอย่างเกี่ยวกับพยาธิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพยาธิมีกี่ชนิด และมักจะพบในอาหารใดบ้าง หรือมีวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันอย่างไร รวมถึงจำเป็นหรือไม่ที่ต้องถ่ายพยาธิเป็นประจำทุกปี

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยแพร่ผ่านแฟนเพจ "@FDAThai" ให้ข้อมูลไขข้อข้องใจ ว่า พยาธิจะมี 5 ชนิดและมักพบในอาหารแบบดังต่อไปนี้ ได้แก่ "พยาธิใบไม้ตับ" พบในอาหารที่ทำจากปลาน้ำจืดที่ไม่สุก เช่น ปลาร้าดิบ ส้มปลา เป็นต้น "พยาธิตัวตืด" พบในเนื้อหมู วัว ที่ปรุงไม่สุก สามารถมองเห็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสาคู หรือผักสดที่ล้างไม่สะอาดและมีไข่พยาธิปนเปื้อน "พยาธิไส้เดือนและพยาธิแส้ม้า" พบในผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด อาหารไม่สะอาดปนเปื้อนไข่พยาธิ มีแมลงวันตอม หรือหยิบของที่ตกบนพื้นดินเข้าปาก "พยาธิตัวจี๊ด" พบในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เช่น ปลา ไก่ กบ เป็นต้น "พยาธิอะนิซาคิส" พบในอาหารประเภทปลาทะเลที่ไม่สุก ปลาดิบ         

สำหรับวิธีหลีกเลี่ยงพยาธิเหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้ออาหารที่สดใหม่สะอาด หากเป็นเนื้อสัตว์ต้องสังเกตุดูว่า มีตัวอ่อนพยาธิ ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสาคูปนเปื้อนหรือไม่ และไม่หยิบของที่ตกบนพื้นแล้วเข้าปาก และควรเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ หรือสุกด้วยความร้อนไม่เพียงพอ และการบีบมะนาวไม่มีผลในการฆ่าตัวอ่อนพยาธิ เพียงแค่ทำให้เนื้อสัตว์เปลี่ยนสีเท่านั้น ส่วนผักสดหากจะรับประทานดิบๆ ควรจะล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ที่สำคัญล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหารและรับประทานอาหาร         

อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องใช้ยาถ่ายพยาธิประจำปี หากไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิ เช่น อยู่ในพื้นที่ชุกของโรคสูง หรือพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการได้รับพยาธิ เช่น กินเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ เป็นประจำ แต่หากมีอาการผิดปกติที่สงสัย เช่น ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีรอยบวมแดงบนผิวหนังที่เคลื่อนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ หรืออาการคันก้น เนื่องจากพยาธิบางชนิดจะออกมาวางไข่รอบ ๆ ทวารหนักตอนกลางคืน เป็นต้น ควรไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยยาถ่ายพยาธิที่เหมาะสมกับชนิดพยาธิที่ได้รับ

http://www.thaihealth.or.th/Content/42103-อย.เผยชื่อพยาธิ5ชนิด%20ปนเปื้อนอาหารเข้าร่างกาย%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,214
Page Views2,011,397
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view