http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อเกิดวิกฤตหมอกควัน

ดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อเกิดวิกฤตหมอกควัน

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีป้องกันปัญหาหมอกควัน รวมถึงการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นพิเศษ เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความปลอดภัย

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า หมอกควันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีป้องกันปัญหาหมอกควันและวิธีปฏิบัติตนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน ดังนี้ 

การป้องกันปัญหาหมอกควัน โดยไม่ประกอบกิจกรรมที่เพิ่มปริมาณหมอกควัน อาทิ เผาขยะ จุดธูปเทียน เพราะทำให้สถานการณ์หมอกควันรุนแรงมากขึ้น หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมที่ทำให้เกิดไฟป่า โดยไม่เผาวัสดุทางการเกษตร ไม่จุดไฟหาของป่าหรือล่าสัตว์ รวมถึงไม่เผาวัชพืชหรือพงหญ้าแห้งเป็นทางเดินในป่า 

เตรียมพื้นที่ทำการเกษตรโดยการฝังหรือไถกลบ หากจำเป็นต้องเผาวัชพืชและวัสดุทางการเกษตร ให้จัดทำแนวกั้นไฟล้อมรอบพื้นที่การเกษตร กำจัดขยะอย่างถูกวิธี โดยการฝังกลบหรือเผาในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

หลีกเลี่ยงการเผาในที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะขยะประเภทสารพิษ ในส่วนของการปฏิบัติตนเพื่อลดผลกระทบจากหมอกควัน 

ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากหมอกควัน โดยสวมแว่นตาป้องกันการระคายเคืองตา สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปากหรือจมูก ปิดประตูและหน้าต่างให้มิดชิด พร้อมใช้ผ้าชุบน้ำอุดตามช่องระบายอากาศเพื่อปิดกั้นฝุ่นละอองมิให้ลอยเข้ามาในบ้าน ลดหรืองดการประกอบกิจกรรมนอกบ้าน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการสูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย 

เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถผ่านเส้นทางที่มีหมอกควันปกคลุม อาทิ ปิดไฟหน้ารถ ไฟตัดหมอก ไม่ขับรถเร็ว ไม่แซงหรือเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน นอกจากนี้ ควรดูแลสุขภาพ 

กรณีอาศัยในพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควัน ไม่ควรออกกำลังกายและทำงานที่ต้องออกแรงมากในที่โล้งแจ้ง เพราะร่างกายจะสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปในปริมาณมาก รวมถึงควรดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ไม่ให้เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละอองหมอกควัน ตลอดจนจัดเตรียมยาที่จำเป็น อาทิ ยาสามัญประจำบ้าน ยาประจำตัว ที่สำคัญ ควรสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์ 

ทั้งนี้ การเรียนรู้การป้องกันปัญหาหมอกควันและวิธีปฏิบัติตนเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาหมอกควันอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความปลอดภัย

http://www.thaihealth.or.th/Content/41239-ดูแลสุขภาพอย่างไรเมื่อเกิดวิกฤตหมอกควัน.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,997
Page Views2,019,438
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view