http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

หัวใจเต้นระริก ภาวะอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

หัวใจเต้นระริก ภาวะอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง

หัวใจเต้นระริก เป็นภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง และเป็นการเต้นผิดปกติของหัวใจที่พบบ่อยที่สุด มีโอกาสเกิดสูงขึ้นตามอายุ และสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ความรุนแรงของภาวะหัวใจเต้นระริกไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตทันที แต่นำมาซึ่งภาวะรุนแรง ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตในภายหลังได้

อ. นพ.ธัชพงศ์  งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า หัวใจเต้นระริก เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง หากเกิดขึ้นกับหัวใจห้องล่าง คนไข้จะเสียชีวิตทันทีหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไหลตาย แต่ถ้าหากเกิดกับหัวใจห้องบน จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วมากและไม่สัมพันธ์กัน ทำให้หัวใจไม่มีการบีบตัว เกิดลิ่มเลือดตกตะกอนอยู่ที่หัวใจห้องบนตามมา จากนั้นลิ่มเลือดอาจไปอุดตันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากไปอุดตันที่สมองจะทำให้เกิดอัมพาต โดยภาวะหัวใจเต้นระริกยังเป็นสาเหตุของอัมพาตประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยอัมพาตทั้งหมด

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจเต้นระริกมีหลายประการ แต่ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดคืออายุ รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด ตามลำดับ รวมถึงโรคอื่น ๆ อีกหลากหลายโรคด้วยกัน

ในคนไข้ที่มีอายุมาก ที่เกิดภาวะหัวใจเต้นระริกมักมาพบแพทย์ด้วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จึงตรวจพบภายหลังว่ามีสาเหตุมาจากภาวะดังกล่าว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงว่าเกิดภาวะหัวใจเต้นระริกให้เห็นก่อนหน้านี้ ขณะที่คนไข้อายุน้อย หากมีภาวะดังกล่าวจะมีอาการแสดง ซึ่งแสดงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ใจสั่นและเหนื่อยง่าย

ในคนไข้ที่มีความเสี่ยงควรตรวจดูชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจอย่างสม่ำเสมอ โดยการจับชีพจรหรือวัดอัตราการเต้นของหัวใจผ่านแอพพลิเคชั่น ฯลฯ โดยคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงคือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น หากพบอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

การรักษาภาวะหัวใจเต้นระริกในผู้สูงอายุ มักเป็นการรักษาเพื่อป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาต ขณะที่ผู้ป่วยอายุน้อยจะเป็นการรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือรักษาเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต คือให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้ 90% ส่งผลให้การเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตลดลง

การรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือรักษาเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ ทำโดยการให้ยา การจี้หัวใจ และผ่าตัด แต่ส่วนมากแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุก่อนว่าคนไข้มีโรคประจำตัวอื่นที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นระริกหรือไม่ หากมีจะทำการรักษาที่โรคนั้น

http://www.thaihealth.or.th/Content/40851-หัวใจเต้นระริก%20ภาวะอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,994
Page Views2,019,390
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view