http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะนักท่องเที่ยว ควรปรึกษาแพทย์เรื่องฉีดวัคซีน

แนะนักท่องเที่ยว ควรปรึกษาแพทย์เรื่องฉีดวัคซีน

จากข้อมูลสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตันประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ระบุว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในสหรัฐปีนี้มีแนวโน้มรุนแรงที่สุด เนื่อจากสถานการณ์เกิดขึนแทบจะพร้อมกันทั้ง 50 รัฐ คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสหรัฐตลอดช่วงฤดูกาลนี้อาจมากถึง 34 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 323 ล้านคน ขณะที่มีรายงานจากการเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กอย่างน้อย 7 คนตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มจำนวนเด็กที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวเป็นอย่างน้อย 37 คน

          นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกามีข่าว "ไข้หวัดใหญ่" ระบาดหนักจึงมีข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการจะเดินทางไปพื้นที่ทีมีการระบาดของโรคควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนเดินทาง ตลอดการเดินทาง ควระมัดระวังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ดูแลสุขลักษณะและสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ โดยหลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือมีผู้คนอยู่จำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ ใส่หน้ากากอนามัย หากมีอาการป่วยในขณะอยู่ต่างประเทศหรือกลับมาประเทศไทยแล้วควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรับการรักษาทันที

          สำหรับประเทศไทยสถาการณ์ไข้หวัดใหญ่จากรายงานการเฝ้าระยังของนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 1-30 มกราคม 2561 ประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว 8,728 ราย เสียชีวิต 1 ราย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3,482 ราย ขณะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มวันทำงานและกลุ่มวัยรุ่น อายุ 35-44 ปี รองลงมาคือ 25-34 ปี และ 15-24 ปี ภาคเหนือมีผู้ป่วยสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ

          โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่าย จากการไอหรือจามรดกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย อาการจะคล้ายไข้หวัด แต่จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ไป คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาการอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย แต่ส่วนใหญ่อาการจะทุเลาลงและหายป่วยเองได้ ภายใน 5 - 7 วัน ยกเว้นบางรายอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดปอดบวม มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก และเสียชีวิตได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ทันที

          น.พ.สุวรรณชัยกล่าวต่อว่าการให้วัคซีนจึงเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน ลดอัตราการป่วยและลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ลงได้โดยประชากรกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับวัคซีนปีละ 1 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค บุคลากรด้านสาธารณสุข หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นน้ำท่วม ฝนตกหรืออากาศหนาว เป็นต้น รวมทั้งประชากรกลุ่มความเสี่ยง ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี 3.ผู้มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4.บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 5.ผู้มีน้ำหนักตัว มากกว่า 100 กิโลกรัม 6.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 7.ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย 8.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)

          แม้ขณะนี้สภาพอากาศของประเทศไทยทั่วทุกภาคจะมีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ามีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ขอให้ประชาชนว่าอย่าได้วิตกกับเหตุการณ์ เพราะทุกคนสามารถป้องกันตนเองได้ ด้วยการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้มีภูมิต้านทานต่อโรค โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกหลีกเลี่ยงความเครียด บุหรี่ สุรา และระวังรักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวเย็น หรืออากาศเปลี่ยนแปลงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินเพียงพอ ยึดหลักปฏิบัติง่ายๆ คือ "ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด" ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จามต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัด ควรใช้หน้ากากอนามัย, ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตูลูกบิด ราวบันใด ราวบนรถโดยสาร เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หยุด คือ เมื่อป่วย ควรหยุดเรียน หยุดงาน แม้จะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ

          น.พ.สุวรรณชัยพูดและกล่าวต่อไปว่าประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มวัยรุ่น ขอให้ระวังการติดเชื้อจากผู้ป่วยที่อาจไม่แสดงอาการผ่านการพบปะสังสรรค์หรือเดินทางไปยังสถานที่ที่แออัดหรือมีผู้คนจำนวนมาก เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า หรือตลาดนัด เป็นต้น และหากคนในครอบครัวเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานและพักอยู่กับบ้านอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาลดไข้และยารักษาตามคำแนะนำหรือคำสั่งของแพทย์ เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา งดดื่มน้ำเย็นจัด ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้เพียงพอ นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก นอนแยกห้องรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำหลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

http://www.thaihealth.or.th/Content/40741-แนะนักท่องเที่ยว%20ควรปรึกษาแพทย์เรื่องฉีดวัคซีน.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,987
Page Views2,019,287
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view