http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

e-Payment เปลี่ยนโลก “ผู้บริโภค -องค์กรกำกับ” พร้อม ?

e-Payment เปลี่ยนโลก “ผู้บริโภค -องค์กรกำกับ” พร้อม ?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาวิชาการ “เงิน…ข้อมูล…และการเยียวยา ความเสียหายของผู้บริโภคในธุรกรรม e-Payment” ฉายภาพสถานการณ์อีเพย์เมนต์ของไทยในปัจจุบัน

“สรณันท์ จิวะสุรัตน์” รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า อีเพย์เมนต์ไทยปี 2559 มีมูลค่า 954,798.58 ล้านบาท ขณะที่ สพธอ. สำรวจผู้ประกอบการขนาดย่อม (SME) พบว่า กว่า 80% ใช้ช่องทางชำระเงินออนไลน์แล้ว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยังมีราว 20% เท่านั้นที่ยังชำระเงินออฟไลน์อยู่

โดย 59.86% เลือกจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต และเพย์เมนต์เกตเวย์ของธนาคาร 23% ชำระผ่าน e-Banking 13.33% ผ่านระบบ mobile payment หรือตัวแทน เช่น m-Pay true Money อีก 3.81% ชำระเงินผ่านระบบชำระเงินต่างประเทศ อาทิ paypal alipay

“เหตุที่ยังเลือกชำระเงินออฟไลน์ 69.1% ยังสะดวกและสบายใจที่ใช้ช่องทางออฟไลน์ 51.4% ไม่มั่นใจในความปลอดภัย 27.1% ขั้นตอนออนไลน์ยุ่งยาก 22.9% กลัวไม่มีหลักฐานยืนยัน 11.8% ไม่รู้จัก/ไม่รู้วิธีจ่ายเงินออนไลน์”

ความเสี่ยงยังมี

ขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบกับการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ อาทิ กรณีเมื่อ ก.ย. 2555 สถาบันการเงินสำคัญของสหรัฐอเมริกา ถูกโจมตีด้วย DDos (Distributed Denial of-Service) โดยกลุ่ม Qassam Cyber Fighters ทำให้การบริการทางเว็บไซต์หยุดชะงัก กรณี ก.พ. 2559 ธนาคารกลางบังกลาเทศ ถูกลอบโอนเงินออก สูญเงินไป 81 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนที่กระทบในไทย คือ ก.พ. 2556 มีการโจมตีแบบ DDos จากกลุ่ม Anonymous กับเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกา เอเชีย รวมถึงไทย ทำให้บริการขัดข้องหลายชั่วโมง กรณี ต.ค. 2558 ธนาคารพาณิชย์หลักในไทย 5 แห่ง ได้รับอีเมล์ข่มขู่เรียกเงินบิตคอยน์ แลกกับจะไม่โจมตีแบบ DDos จากกลุ่ม Armada Collective กลายเป็นจุดเริ่มต้นการหารือของ CEO financial sector เพื่อรับมือกับปัญหาไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และ ส.ค. 2559 ATM 21 ตู้ของธนาคารออมสินถูกโจมตีด้วยมัลแวร์ เงินหายไป 12,291,000 บาท

“ธนาคารกลางทุกประเทศกำกับมาตรฐานการให้บริการอยู่แล้ว แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและซับซ้อนขึ้น เชื่อว่า ในอนาคตข่าวสารพวกนี้จะมากขึ้นอีก ฉะนั้นสำคัญคือจะมีกลไกในการหยุดการคุกคาม หยุดความเสียหายเหล่านี้ให้ได้อย่างรวดเร็วได้อย่างไร”

กฎหมายให้สิทธิคุ้มครอง

“ปวีร์ เจนวีระนนท์” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า เหตุที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันให้ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและใช้เงินสด ทั้งหวังว่าข้อมูลธุรกรรมอาจทำให้จัดเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกา มีเพียง 11% ใช้เงินสดซื้อของ และลดจำนวนลงทุกปี ขณะที่การใช้จ่ายผ่านระบบโมบายในประเทศจีนมีมูลค่า 5.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

ในฝั่งของผู้บริโภคเมื่อเกิดความเสียหายจากการใช้งาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาโดยตรงคือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้วางหลักสำคัญ 5 ประการเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค คือ 1.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ถูกต้อง 2.สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการ 3.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 4.สิทธิในการทำสัญญา และ 5.สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย

นอกจากยังมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 ที่ระบุว่า ผู้ขายจำเป็นต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขาย ส่งมาชำรุดบกพร่อง อาจเป็นเหตุให้เสื่อมราคาเสื่อมความเหมาะสมเสื่อมประโยชน์ที่มุ่งหวัง ผู้ขายต้องรับผิดชอบ

ขณะที่ลักษณะการชำระเงินในปัจจุบันเริ่มมีทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ การใช้บิตคอยน์จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหลายร้านในหลายประเทศเริ่มใช้งานแล้ว แต่สถานะทางกฎหมายต้องพิจารณาเยอะ

“ในไทยก็ตื่นตัวเรื่องนี้ ทั้ง ธปท. และ ก.ล.ต.(คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) กำลังปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ อาทิ การออก ICO (Initial Coin Offering ระดมทุนผ่านการออกเหรียญเงินดิจิทัล)”

โลกอีเพย์เมนต์เปลี่ยน

“ภูมิ ภูมิรัตน” นักวิชาการด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ย้ำว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือบล็อกเชน สกุลเงินดิจิทัล มาแรงมากจนรัฐบาลเริ่มต้องคิดถึงจุดยืน เพราะมีทั้งประโยชน์และประเด็นที่ต้องคิดทั้งการฟอกเงิน ความหวือหวาของค่าเงิน ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังออกแบบเพื่อการกำกับดูแล

“ปัจจุบันเงินดิจิทัลพวกนี้ไม่ใช่แค่ชำระเงินได้ แต่ยังใช้ระดมทุนได้ จากเดิมที่เคยมีกลไกมากมายในการกำกับดูแลการระดมทุน แต่ ICO เลี่ยงกฎหมายทั้งหมดได้ และเกิดขึ้นเร็วมาก ทำให้กฎหมายต้องเปลี่ยนวิธีคิดมหาศาล”

ขณะที่ 18 เม.ย. นี้ พ.ร.บ.การชำระเงิน พ.ศ. 2560 จะมีผลบังคับใช้ และช่วยอุดช่องโหว่ที่คนกังวลเรื่องระบบการชำระเงินของผู้ให้บริการต่างชาติที่ไม่ถูกควบคุม

“โดยสั่งห้ามไม่ให้คนไทยไปพาร์ตเนอร์กับผู้ให้บริการที่ไม่มาขึ้นทะเบียน อาทิ ถ้าอาลีเพย์ไม่มาขึ้นทะเบียนกับ ธปท. ร้านค้าย่อยก็จะไปทำธุรกรรมรับชำระเงินด้วยอาลีเพย์ไม่ได้ เพราะถือว่ามีความผิด จึงจะช่วยแก้ปัญหาการบังคับใช้ในระดับหนึ่ง ซึ่ง ก.ล.ต. กำลังจะทำแนวเดียวกันกับ ICO”

ขณะที่ประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ตาม พ.ร.บ.การชำระเงิน ฉบับใหม่ ธปท. จะประกาศเกณฑ์บังคับให้ผู้ให้บริการชำระเงินทั้งหลายต้องปฏิบัติ แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ได้ตัดตัวกลางออก ทำให้ความเสี่ยงไปอยู่ที่ผู้ใช้งานทุกคน แล้วผู้ใช้บริการจะพร้อมรับความเสี่ยงนี้หรือไม่

“ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์ของโอมาน เพิ่งโดนแฮก เพราะว่าวิศวกรเน็ตเวิร์กซื้อโปรแกรม Firewall มาติดตั้งแล้วไม่ได้เปลี่ยนพาสเวิร์ด ยังใช้เป็น Adim อยู่ ทำให้เห็นว่า เรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ไม่ใช่แค่การออกกฎระเบียบ แต่การปฏิบัติยังต้องเป๊ะตามเกณฑ์ด้วย ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องบาลานซ์ และให้สิทธิ์ในการเลือกที่จะรับความเสี่ยงตามที่แต่ละคนรับได้ สำคัญคือ ต้องให้ความรู้ว่า ความเสี่ยงในการทำธุรกรรมอยู่ที่ใคร ยิ่งในยุคที่ความรู้เท่าทันในเทคโนโลยียังน้อย”

ระวัง “แชร์ลูกโซ่” แปลงร่าง

“พฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์” ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า นวัตกรรมการเงินพัฒนาอยู่ตลอด ดังนั้นก่อนจะลงทุนอะไร ผู้บริโภคควรเข้าใจอย่างถ่องแท้ อาทิ การเข้าลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ มูลค่าความผันผวนและความเสี่ยงสูงมาก ที่สำคัญคือ ยังไม่ถือเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยังไม่มีผู้กำกับดูแล มีความเสี่ยงที่จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย จำเป็นต้องพิจารณาว่าผลตอบแทนนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะการหลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่แต่อ้างว่าเป็นการลงทุนสกุลเงินดิจิทัล

ด้าน “ภูมิ” ย้ำว่า ประเทศนี้อะไรที่กลายเป็นสิ่งน่าสนใจก็จะถูกนำไปอ้างเพื่อหลอกลวงได้ทั้งนั้น เหตุเพราะคนสนใจเยอะ แต่มีคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อยู่น้อย

“ย้ำทุกครั้งที่มีคนมาปรึกษาว่า ไม่แนะนำให้สนใจมัน จนกว่าคุณจะเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี คือไม่ต้องเข้าใจลึกก็ได้ แต่ต้องเข้าใจบ้าง ตอนนี้มีคนถูกหลอกอยู่ตลอด อย่ากระโดดเข้าไปโดยไม่รู้อะไร”

เดือดร้อนแจ้งสายด่วน ธปท.

ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า พ.ร.บ. การชำระเงิน จะบังคับให้ผู้ให้บริการชำระเงินทุกรายต้องมีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งหากติดต่อไปแล้วไม่ได้รับการแก้ไข ให้แจ้งมาที่สายด่วน ธปท. 1213 แต่ก็ต้องพิจารณาว่าต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหน บางครั้งเป็นที่บริการ บางครั้งเป็นเพราะความไม่เข้าใจในสัญญาที่ทำไว้ แต่ถ้าเป็นปัญหาทางสัญญาแพ่งระหว่างกัน ธปท. จะไม่มีอำนาจ

เช่นเดียวกับ “ภูมิ” ที่ระบุว่า ผู้บริโภคจะต้องไล่วิเคราะห์ทีละประเด็นว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ตรงไหน ซึ่งแต่ละจุดจะมีกฎเกณฑ์กำกับอยู่

https://www.prachachat.net/ict/news-110829

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,998
Page Views2,019,462
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view