http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม และ สสจ.ปทุมธานี บุกจับยาปลอม

อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม และ สสจ.ปทุมธานี บุกจับยาปลอม

อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม และ สสจ.ปทุมธานี บุกจับบริษัท เบสซี่แอรอน จำกัด พบผลิตยาไม่มีเลขทะเบียน ลักษณะเป็นยาแคปซูลสีเขียว-เหลือง ซึ่งเป็นยาที่มีการลักลอบจำหน่ายให้กับกลุ่มวัยรุ่น นำไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4x100 ยึดยาไม่มีทะเบียน จำนวนกว่า 3 แสนเม็ด และอุปกรณ์การผลิต รวมทั้งอายัดเครื่องจักร มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท   

อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม และ สสจ.ปทุมธานี บุกจับบริษัท เบสซี่แอรอน จำกัด พบผลิตยาไม่มีเลขทะเบียน ลักษณะเป็นยาแคปซูลสีเขียว-เหลือง ซึ่งเป็นยาที่มีการลักลอบจำหน่ายให้กับกลุ่มวัยรุ่น นำไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4x100 ยึดยาไม่มีทะเบียน จำนวนกว่า 3 แสนเม็ด และอุปกรณ์การผลิต รวมทั้งอายัดเครื่องจักร มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ปรามโรงงานผลิตยา อย่าได้ลักลอบผลิตยาที่ไม่ขึ้นทะเบียน โดยเฉพาะการผลิตยาที่เยาวชนมีโอกาสนำไปใช้ในทางที่ผิดโดยเด็ดขาด ฝากประชาชนช่วยกันสอดส่องดูแลบุตรหลาน อย่าให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการใช้ยาในลักษณะดังกล่าว

          เจ้าหน้าที่ อย. ภายใต้การอำนวยการของ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา , นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการฯ อย. , ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการฯ อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปราม นำทีมโดย พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ  ผกก.1 บก.ป. , พ.ต.ท.ภัทรพล ปัทมวงศ์ สว.กก.1 บก.ป. , พ.ต.ท.กิตติเมศร์ โชติปิติเจริญรัฐ  สว.กก.1 บก.ป. , พ.ต.ท.ก่อเกียรติ วุฒิจำนงค์  สว.กก.1 บก.ป. , ร.ต.อ.ธนศักดิ์ ปราสาททอง รอง สว.กก.1 บก.ป. และ ร.ต.อ. เอกรณการ นาคนิยม รอง สว.กก.1 บก.ป.และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี นำทีมโดย นพ.ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์   นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำการสืบสวนกรณีการลักลอบขายยาทรามาดอล แคปซูลเขียวเหลือง ให้กับเยาวชนไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะยาที่ฉลากระบุชื่อว่า PACMADOL ซึ่งทะเบียนตำรับยาได้ยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่  10 กันยายน 2555 ต่อมาจากการสืบสวนพบว่า มีการลักลอบผลิตยาดังกล่าวในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และมีการขายยาผ่านทางสื่อโชเชียลมีเดีย ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จึงได้ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปราม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี รุดเข้าตรวจสอบ บริษัท เบสซี่แอรอน จำกัด ตั้งอยู่ที่ 11/79 หมู่ที่ 20 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ผลการตรวจสอบพบว่ากำลังผลิตยาแคปซูลสีเขียว-เหลือง บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกถุงละ 1,000 แคปซูล และยังตรวจพบฉลากเปล่าระบุชื่อยา “PACMADOL” จำนวนมาก จึงได้ทำการยึดยาไม่มีเลขทะเบียน จำนวนกว่า 3 แสนเม็ด และอุปกรณ์  การผลิต และอายัดเครื่องจักรไว้ ณ บริษัทฯที่กระทำความผิด โดยของกลางที่ตรวจพบมีดังต่อไปนี้

  1. ยาแคปซูลสีเขียว-เหลือง จำนวน 288,400 แคปซูล 
  2. ยาแคปซูลสีชมพู-ขาว  จำนวน 500 แคปซูล
  3. ผงยาสีขาว บรรจุในถุงพลาสติกใส จำนวน 3 กิโลกรัม
  4. ฉลากยา “PACMADOL” ระบุเลขทะเบียน Reg.No.1A1065/44 Lot & Coat.No.16225  Mfg.date 260816 ยาสิ้นอายุ 260820 จำนวน 600 ใบ
  5. อุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตจำนวนหนึ่ง
  6. พบแคปซูลเปล่าสี่เขียว-เหลือง จำนวนกว่า 1 ล้านเม็ด

          รวมมูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ครอบครองสถานที่ว่ากระทำการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ฯลฯ ในข้อหา

1. 72 (1)310,000 - 50,000

2. ผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฝ่าฝืน ม.72 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน    5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         

          นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวต่อไปว่า อย. ขอปราม โรงงานผลิตยาและร้านขายยาทุกแห่ง อย่าได้ผลิตหรือจำหน่ายยา ให้แก่เยาวชนที่คาดว่าจะน่าไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะ ยาทรามาดอล นั้น อย. มีมาตรการเข้มงวด โดยให้จำหน่ายยาเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็น         ทาง  การแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ ไม่เกิน 20 เม็ด/แคปซูล ต่อรายต่อครั้ง และให้เภสัชกรประจำร้านเท่านั้น             เป็นผู้ส่งมอบยาให้แก่ผู้มารับบริการ ที่สำคัญห้ามจำหน่ายยาให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี ในทุกกรณี รวมทั้งให้ผู้รับอนุญาตและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร่วมกันจัดทำบัญชีชื่อยาและบัญชีการขายยาให้เป็นจริง ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน  หากพบร้านขายยาใดฝ่าฝืน นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว            ยังจะถูกเสนอคณะกรรมการยาให้ความเห็นชอบในการพักใช้ใบอนุญาตขายยาต่อไป และขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะร่วมมือกันทำหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคอย่างเข้มแข็ง

          ด้าน ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ปกครองและประชาชนผู้บริโภค ช่วยกันเป็นหู เป็นตา หากพบร้านขายยาใด ๆ ขายยาทรามาดอลให้แก่เยาวชน หรือขายยาดังกล่าวโดยไม่มีเภสัชกรประจำร้าน ขอให้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556 , อีเมล์ : 1556@fda.moph.go.th , จดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือ ร้องเรียนผ่านทาง Oryor Smart Application และสามารถเดินทางมาร้องเรียนด้วยตัวเองที่ ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) อย. ได้ทุกวันในเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat&id=1233

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,997
Page Views2,019,428
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view