http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

หลอกลวงผู้ซื้อผ่านสื่อออนไลน์ เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.

หลอกลวงผู้ซื้อผ่านสื่อออนไลน์ เข้าข่ายผิดพ.ร.บ. 

กระทรวงดิจิทัลฯ เตือนกลุ่มผู้ขายสินค้าไม่ซื่อสัตย์ ย้ำโฆษณาชวนเชื่อสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อออนไลน์เข้าข่ายการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ วอนประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งเบาะแสกลโกงแก่ภาครัฐ พร้อมประสาน สคบ. - สตช. ร่วมมือแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

          นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเผยว่า จากรายงานของ "ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค" ที่มีการเปิดเผยตัวเลขการร้องเรียนปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภค ในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2560 มีจำนวน 1,153 ราย โดยปัญหาอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด คือ ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป โดยเฉพาะการโฆษณาเกินจริงที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและซื้อสินค้า อันดับสอง คือ การถูกเอาเปรียบ ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ครบถ้วน รวมถึงข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และหน่วยงานรัฐไม่มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการใช้ช่องทางการโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่หลากหลาย และอันดับสาม คือ เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่ดูแลผู้บริโภค ดำเนินการเชิงรุกในการแก้ปัญหาเชิงนโยบายไม่ใช่รายกรณี โดยออกกฎระเบียบหรือกฎหมายบังคับเกี่ยวกับการอนุญาตโฆษณาขายสินค้าที่กระทบกับสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งให้มีตรวจสอบและเฝ้าระวังการโฆษณาขายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ

          สำหรับกรณีของการโฆษณาขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อและเข้าใจผิดในคุณสมบัติ หรือบรรยายสรรพคุณเกินจริงนั้น ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการติดตามเฝ้าระวังการกระทำที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์มาโดยตลอด ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความผิดจริง อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14 (1) "อันเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท" และศาลอาจสั่งให้ระงับการเข้าถึง หรือ ลบข้อมูลหลอกลวงนั้นออกจากระบบ หรือ ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรได้

          โดยที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลฯ ได้ประสานการทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่มาโดยตลอด และได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลโฆษณาขายสินค้าที่มีลักษณะหลอกลวงมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่ตรวจพบหรือที่ได้รับแจ้ง นอกจากนั้นกระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดฯ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการสื่อสารให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงแนะนำวิธีการรู้เท่าทันกลโกงของผู้ไม่หวังดีหรือกลุ่มมิจฉาชีพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการย้ำเตือนประชาชนหรือผู้บริโภคให้ระวังปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการทำงานทั้งเชิงรุกและรับ อีกทั้งเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการที่หวังเพียงแต่ได้ โดยไม่สนใจผลเสียที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของประชาชนเองยังสามารถร่วมกันสอดส่องและแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานรัฐ หรือผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างๆ ดำเนินการตรวจสอบได้อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยกันดูแลสิทธิของผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการอีกต่อไป

http://www.thaihealth.or.th/Content/40055-หลอกลวงผู้ซื้อผ่านสื่อออนไลน์%20เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,990
Page Views2,019,326
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view