http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

'ระวังภัยเงียบของการใช้ยา...ยาตีกัน'

'ระวังภัยเงียบของการใช้ยา...ยาตีกัน'

สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มักจะมีหลายโรคร่วม การรักษาหลักก็คือ รับประทานยา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันและใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องและผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง ช่วงเวลาการนัดผู้ป่วยเพื่อมาติดตามผลการรักษามีความถี่ต่ำ อาจจะเป็น 3-6 เดือน ซึ่งในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่บ้านและรับประทานยาหลายชนิด ใช้ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทั้งจากยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว จากการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยอื่นๆ จากการใช้ยาซ้ำซ้อน และจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้ผู้ป่วยหยุดยาเองโดยไม่บอกแพทย์ ทำให้โรคยิ่งเป็นมากขึ้น หรือยาที่ใช้รักษาได้ผลลดลงหรือเพิ่มมากขึ้นจนเป็นอันตรายได้ เป็นต้น

          ข้อมูลจาก รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์ อดีตนายกสภาเภสัชกรรม แนะนำว่า การที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน การรับประทานยาไม่ถูกต้อง หรือพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาล มีงานวิจัยพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมีสาเหตุมาจากเรื่องของยา โดยที่ 40% มีสาเหตุมาจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง และอีก 60% มาจากอาการ ไม่พึงประสงค์จากยา

          อันตรายยาตีกัน...ภัยเงียบผู้ใช้ยา

          ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ มักได้รับยามาจากสถานพยาบาลหลายแห่ง โดยแต่ละแห่งไม่ทราบข้อมูลว่าผู้ป่วยรับประทานยาอะไรอยู่บ้างเป็นประจำ หรือการที่ผู้ป่วยไปหาซื้อยา อาหารเสริม หรือแม้แต่สมุนไพรมารับประทานเอง นอกจากเกิดปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อนแล้ว ยังอาจเกิด "ยาตีกัน" ได้ "ยาตีกัน" หมายถึงการที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับยาอีกตัวหนึ่งร่วมด้วย โดยผลที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งใจ หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาจทำให้ผลการรักษาลดลงก็ได้ หรือบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ยาตีกันจะเกิดผลมากน้อยขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ยาร่วมกัน และขนาดยาที่ใช้ด้วยเช่น-ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะตีกันกับยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่แล้ว เช่น ยาลดไขมัน ยาหัวใจ ยาขยายหลอดลม เป็นต้น ทำให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น ในผู้ป่วยบางคนอาจเป็นอันตรายได้

          - ผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ต้องระมัดระวังในการซื้อยาหรืออาหารเสริมมารับประทานร่วมด้วย เพราะอาจเกิดปฏิกิริยากัน ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติและอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้

          - การรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อบางกลุ่มร่วมกับยาลดกรด หรือแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบางชนิด จะทำให้การดูดซึมของยาฆ่าเชื้อลดลงกว่าครึ่ง ผลการฆ่าเชื้อก็ลดลงด้วย

          - ยาตีกับอาหารเสริม หรือสมุนไพรบางชนิด นอกจากยาตีกันเองแล้ว อาหารเสริมที่ไม่ได้จัดเป็นยาหรือสมุนไพรบางชนิด ก็สามารถ "ตีกับยา" ได้ เช่น น้ำผลไม้บางชนิด กระเทียม หรือแป๊ะก๊วย อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาที่ต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin ได้

          นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้ป่วยในเรื่องการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ล้วนมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาทั้งสิ้น การสูบบุหรี่จะทำให้ยาทั้งหลายออกฤทธิ์ลดลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ต้องการขนาดยาที่จะได้ผลการรักษาที่สูงกว่าคนอื่นทั่วไป เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์จะทำให้ผลการรักษาของยาเปลี่ยนแปลงไป ยาบางอย่าง เช่น ยาเบาหวาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเกิดอาการที่เรียกว่า disulfiram-like effect น้ำผลไม้บางชนิดโดยเฉพาะน้ำเกรฟฟรุต (ขนาด 250 ซีซี) จะทำให้ระดับยาในเลือดของยาที่รับประทานร่วมด้วยสูงขึ้น เช่น ยาลดไขมัน ยากดระบบประสาท เป็นต้น

          ดังนั้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังจึงควรมีสมุดบันทึกยาประจำตัว และใช้บันทึกประวัติการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย ที่ผู้ป่วยต้องใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับจากสถานพยาบาลใด เป็นการส่งต่อข้อมูลสื่อสารกันในระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพ ทำให้เกิดการต่อเนื่องของการดูแลรักษา โดยสมุดบันทึกยานี้จะช่วยให้ตรวจสอบ ดูแล ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ช่วยให้แพทย์หรือเภสัชกรไม่จ่ายยาที่ซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ หรือเลือกจ่ายยาที่ไม่ "ตี" กับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เป็นต้น โดยผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่อยู่ประจำหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือร้านยา โดยเฉพาะ "ร้านยาคุณภาพ" ซึ่งจะช่วยดูแลการใช้ยาอย่างต่อเนื่องเสมือนเป็นเภสัชกรประจำครอบครัว เพื่อป้องกันอันตรายจากยาและช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาต่างๆ มีปัญหาเรื่องยา...ปรึกษาเภสัชกร

http://www.thaihealth.or.th/Content/39942-'ระวังภัยเงียบของการใช้ยา...ยาตีกัน'.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,987
Page Views2,019,304
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view