http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคไตเรื้อรัง รักษาได้ หากรู้เท่าทัน

โรคไตเรื้อรัง รักษาได้ หากรู้เท่าทัน

"โรคไต" หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มเป็น มีโอกาสเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ ซึ่งต้องทำไตเทียมเท่านั้น จึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น การฟอกเลือดหรือการล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต ในสถานการณ์ปัจจุบันมีโอกาสของการปลูกถ่ายไตน้อยมาก เนื่องจากด้วยสภาพอายุที่มากขึ้น ร่างกายมีโรคร่วมอื่นๆ ที่ไม่ปลอดภัยต่อการผ่าตัดและขาดแคลนไตบริจาค

โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีพันธกิจเพื่อการรักษาที่มิใช่เป็นการรักษาปัญหาปลายเหตุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องการให้ความรู้ประชาชนเพื่อให้ห่างไกลโรคไต รู้ทันปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค รู้จักวิธีชะลอไตมิให้เสื่อม และอยู่กับโรคไตได้อย่างมีความสุข

คนเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นทุกปี

ศ.เกียรติคุณ พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ ประธานฝายการศึกษา วิชาการ และฝึกอบรม สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เล่าว่า จากรายงานของสมาคาโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ป่วยโรคไตปัจจุบันมีจำนวน 8 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยเป็นได้ในคนทุกช่วงวัย ระยะของการเกิดโรคเริ่มต้น ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 และระยะสุดท้ายคือระยะที่ 5 ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการทำไตเทียม โดยอาศัยเปอร์เซนต์ ของการทำงานของไตในการแบ่งระยะของโรค

จากรายงานดังกล่าวยังพบด้วยว่า ในปี พ.ศ.2558 เป็นปีที่สถิติจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องปลูกถ่ายไต ล้างไตทางช่องท้อง หรือ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมากถึง 18,963 คน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังและต้องทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือดทำไตเทียม รวมทั้งสิ้นจำนวน 97,570 ราย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตอันดับหนึ่งคือ โรคเบาหวานรองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูง ค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือดทำไตเทียม จำนวน 200,000 บาทต่อคนต่อปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเกือบหมื่นล้านบาทต่อปี

"สถิติที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบนี้ เรียกว่าวิกฤติ เราจะต้องสร้างไตทางช่องท้อง ฟอกเลือดอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ เราจึงไม่ต้องการเน้นรักษาเพียงอย่างเดียว หากเรามุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เหมือนการเติมน้ำใส่ตุ่มที่รั่ว แล้วเมื่อไร น้ำจะเต็ม เป้าหมายของเราที่ตั้งใจไว้ คือ ต้องชะลอการเสื่อมของไต ทำอย่างไรเขาถึงจะรู้ตัวว่าเขาเป็นโรคไต ถ้าเขาเป็นจะทำอย่างไรไม่ให้ไตเสื่อมหรือเป็นมากขึ้นจนหมดทางรักษาหรือทางที่ดีที่สุด คือ ทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรคไต"

ไตเรื้อรัง คือ อะไร

โรคไตเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เกิดจากการที่ไตถูกทำลายช้าๆ อย่างต่อเนื่องใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่เป็นการทำลายอย่างถาวร ไม่สามารถฟื้นกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งโรคที่พบบ่อยในการทำลายไตจนเป็นไตเรื้อรัง ได้แก่ เบาวหวาน ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ ชนิดต่างๆ เมื่อเนื้อไตถูกทำลาย การทำงานก็เสื่อมหน้าที่ลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เช่นความดันโลหิตสูง, ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย, เบื่ออาหาร ผอมลง, ซึม สับสน จนบางครั้งเกิดอาการชัก และ กระดูกเปราะบาง

นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังยังทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแข็งตามอวัยวะต่างๆ ได้ง่ายและเร็วขึ้นอีกด้วย เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย ทำให้ผู้เป็นโรคไตไม่ทันสังเกตอาการ จนกระทั่งหน้าที่ไตเสื่อมไปมากแล้ว อาการรุนแรงจึงปรากฏให้เห็นชัดเจน เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ก็เป็นโรคไตเรื้อรังใกล้ระยะสุดท้ายแล้ว ต้องใช้วิธีทำไตเทียม หรือปลูกถ่ายไตเพื่อต่อชีวิตผู้ป่วย

อาการเตือนที่ทำให้รู้ว่าเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว คือ 1.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง ไม่สดชื่น 2.สมาธิในการทำงานลดลง 3.เบื่ออาหาร 4.นอนหลับยาก หรือ หลับไม่สนิท 5.ลักษณะปัสสาวะผิดปกติทั้งสี และความขุ่น 6.ใบหน้าหนังตาบวม หรือ ขาบวม 7. ผิวหนังแห้ง คัน มีรอยถลอกจากการเกา 8.ปัสสาวะมากในเวลากลางคืน ไตเรื้อรังเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเป็น ได้แก่ 1. ผู้เป็นเบาหวาน 2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 3. ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต 4. อายุมากกว่า 60 ปี 5.มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ 6. เป็นโรคอื่นๆ ที่สามารถเกิดพยาธิสภาพในไต เช่น โรค เอส แอล อี โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ

สำหรับการรักษาโรค ไตเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น และโรคร่วมที่มีอยู่ ซึ่งการดูแลรักษาประกอบด้วย

1. รักษาโรค ดั้งเดิม หรือโรคร่วมที่เป็นอยู่ เพราะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค

2. การดูแลหัวใจ เนื่องจากผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่าผู้ไม่เป็นโรคไตหลายเท่า

3. การรักษาภาวะซีด เนื่องจากขาดฮอร์โมน อิริโทรโพอิติน และ / หรือ ธาตุเหล็ก

4. การรักษาระดับไขมันในเลือด ทั้งเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์ โดยปรับพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว จนเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ตามมาภายหลังได้

5. การรักษาควบคุมระดับฟอสฟอรัสในอาหารซึ่งเนื้อสัตว์ กาแฟ โกโก้ ขนมปังถั่วต่างๆ ตลอดจนพืชผัก บางประเภท มีฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบมาก ดังนั้น ถ้าไตเสื่อมหน้าที่ การกำจัดฟอสฟอรัสจะลดลง ทำให้ฟอสฟอรัสในเลือดสูง กระทบต่อระดับแคลเซียม และ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมนในเลือด จนเกิดอันตรายต่อกระดูกและการตกตะกอนของหินปูน ซึ่งจะเกาะที่หลอดเลือดหัวใจได้

สร้างความตระหนักลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไต

ศ.เกียรติคุณ พญ.ธัญญารัตน์ กล่าวว่า เราไม่ควรแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว ต้องตัดไฟแต่ต้นลมหรือแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วย เหตุนี้เองทำให้โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มีกิจกรรมสร้าง ความตระหนักในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตกับประชาชนทุก 3 เดือน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การทำสื่อความรู้ แผ่นพับ หนังสือ วีดีทัศฯ์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไต สาเหตุของโรค การป้องกัน ตลอดจนการรักษาเพื่อชะลอบการเสื่อของไตให้ไตอยู่กับผู้ป่วยนานๆ พร้อมกันนั้นแพทย์ของรพ. ก็ได้ออกรายการทีวี เพื่อให้ความรู้กับประชาชน รวมถึงเปิดช่องทางสอบถามเกี่ยวกับโรคไตผ่านเว็บไซต์ ของโรพบาบาลฯ www.brkidney.org เป็นต้น

ล่าสุดจะมีการประชุมวิชาการ เรื่อง "ปัสสาวะบ่อยกระเกาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต : วิธีดูแลรักษา" ในวันที่ 17 ธ.ค. 2560 ที่โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะโรคดัง กล่าวก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตได้บ่อย เช่นกัน

ขณะที่ทีมแพทย์และพยายาลเอง ก็มีการจัดประชุมสำหรับแพทย์และพยาลไตเทียมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อปรับปรุงแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพ มีการจัดวิทยากรจากโรงเรียนแพทย์ มาบรระยายทางวิชาการสำหรับแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหารและบุคลากรทางการแพทย์ของรพ.ให้มีความรู้ทันสมัยตลอดเวลา นอกจากนี้ แพทย์ประจำของรพ.ยังมีโอกาสฝึกฝนการเป็นวิทยากรในการประชุมนอกโรงพยาบาล ของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และที่อื่นๆ อีกด้วย และมีการจัดประชุมวิชาการระหว่างสมาคมพยาบาลโรคตไต และโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ สำหรับพยาบาลไตเทียมและพยาบาลวิชาชีพทั่วประเทศปีละ 1 ครั้ง เป็นต้น มีการส่งแพทย์ไปแลกเปลี่ยนความรู้กับแพทย์ในต่างประเทศและมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา ในการนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาการรักษาต่อไป

"ต้องยอมรับว่าประชาชนยังมีความเข้าใจเรื่องไตน้อยอยู่ ไม่รู้ว่าปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง เช่น การกินยา หรือ พืช ผัก บางประเภท พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย อย่างผึ้ง หรือ ตัวต่อบางชนิด หรือแม้แต่ผลไม้อย่างมะเฟือง ตะลิงปลิง หากรับประทานติดต่อกันจำนวนมากเป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคไตได้ และเมื่อเป็นแล้วมาพบแพทย์ทันเวลาโอกาสหายจะสูง แต่ถ้ามาช้าอาจจะกลายเป็นไตเรื้อรัง ไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้ดีเช่นเดิมอีก ดังนั้น ระยะเวลาที่เกิดอาการ การรู้จักสารพิษต่อไต ความช่างสังเกตความผิดปกติของปัสสาวะ การตรวจสุขภาพไต จะทำให้ลดการเป็นโรคไตได้มากทีเดียว"

http://www.thaihealth.or.th/Content/39798-โรคไตเรื้อรัง%20รักษาได้%20หากรู้เท่าทัน.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,986
Page Views2,019,273
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view