http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

เบาหวานฆ่าคนไทยปีละ 8 พันกว่าราย แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต

ในแต่ละปี ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน รวมกันแล้วกว่า 5 ล้านคน และอีกกว่า 415 ล้านคนยังต้องเผชิญกับโรคเบาหวาน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 50 ที่ได้รับการวินิจฉัย ซึ่งหมายความว่า ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเพราะได้รับการวินิจฉัยล่าช้า

นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2583 ยอดผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคนทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละกว่า 8,000 คน โดยในปี 2557 มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 หรือ 4.8 ล้านคน สูงกว่าปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีร้อยละ 6.9 หรือ 3.3 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือมีคนไทยมากถึง 2 ล้านคนที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่ทราบว่าตนเองเป็น และยังไม่เข้าถึงการรักษา และยังมีอีก 7.7 ล้านคนที่อยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในเขตเมือง คือ ความอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยภาวะอ้วนของคนไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และผู้หญิงไทยมีภาวะอ้วนมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากมาเลเซีย โดยมีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ถูกสุขภาวะ และขาดการออกกำลังกาย

เบาหวาน ตัวการสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงอันดับ 2

นอกจากไตวาย ความดันโลหิตสูงแล้ว โรคเบาหวานยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทยอีกด้วย โดยโรคเบาหวานที่พบบ่อยมีอยู่ 2 ชนิด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายทำลายเซลล์ของตัวเองที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินโดยปฏิกิริยาอิมมูน เกิดได้กับทุกอายุ แต่มักพบในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่วัยต้น

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องการอินซูลินเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด ขณะที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน แม้ร่างกายผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาล มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 30 ปี สัมพันธ์กับการมีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการดื้ออินซูลิน

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว สิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด คือการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งพบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน

“ส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน มีสาเหตุการเสียชีวิตจากภาวะไตวายและโรคหลอดเลือดหัวใจสูงสุดใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตันสูงกว่าคนทั่วไปหลายเท่าตัว รวมถึงยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดไตวายในประเทศไทยอีกด้วย”

โรคเบาหวานจัดเป็นโรคที่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาพยาบาล จากข้อมูลของสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2551 พบว่า ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยทั้งของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในโรคเบาหวานสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี

แนวทางการป้องกันโรคเบาหวาน

กุญแจสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการป้องกัน คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตมาสู่รูปแบบที่ถูกสุขลักษณะ เช่น การลดน้ำหนัก มีกิจกรรมที่ออกแรงมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไฟเบอร์ ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าสามารถทำได้มากเท่าใด อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานก็จะลดลงมากเท่านั้น

นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงทุกคนควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งการประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจกรองหาผู้ป่วยนั้น นอกจากจะช่วยค้นหาผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานในอนาคต ซึ่งจะได้ให้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยให้ตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการและสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ อีกด้วย

นวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดนี้ยากต่อการควบคุม การรักษาจึงต้องมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอาหารอย่างระมัดระวัง วางแผนเรื่องการออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI) ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น จำเป็นต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และอาจต้องรักษาด้วยยารับประทาน และ/หรือ ฉีดอินซูลินร่วมด้วย

ศ.คลินิก นายแพทย์ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ ประธานวิชาการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้วิธี close loop insulin pump หมายถึงผู้ป่วยจะพกพาเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและเครื่องให้อินซูลินเข้าใต้ผิวหนัง ติดไว้กับตัวตลอดเวลา เครื่องตรวจระดับน้ำตาลจะทำการส่งสัญญาณค่าน้ำตาลที่ตรวจได้ไปยังเครื่องให้อินซูลินซึ่งจะเป็นตัวกำหนดขนาดอินซูลินที่จะให้เข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา

“วิธีนี้เริ่มมีการใช้ในชีวิตจริงทางการวิจัยมาไม่นาน ซึ่งกว่าจะพัฒนาให้ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทั่วไป ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ปัจจุบันมียาเม็ดลดระดับน้ำตาลชนิดใหม่ๆ ออกมาหลายขนาน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดน้อยลงและไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนยาฉีดนั้น มีทั้งยาฉีดชนิดที่ไม่ใช่อินซูลิน ซึ่งทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นและทำให้น้ำหนักตัวลดลง และยาฉีดที่เป็นอินซูลิน ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรมของยาฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ได้ยาวขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยลง และเพิ่มความสะดวกต่อคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องฉีดในเวลาเดิมทุกวัน สามารถเลื่อนหรือฉีดก่อนเวลาประจำได้บ้างโดยที่ประสิทธิภาพในการรักษาไม่เปลี่ยนแปลง”

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคเบาหวานให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากการใช้อินซูลินได้ครบตามกำหนดที่แพทย์แนะนำแล้ว ผู้ป่วยยังต้องคุมน้ำตาลด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะควบคู่ไปด้วยเสมอ ทั้งการลดน้ำหนัก รับประทานอาหารที่สมดุล ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

http://www.thaihealth.or.th/Content/39745-แพทย์เตือนระวังโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,996
Page Views2,019,399
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view