http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ต้องรีบรักษา

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ต้องรีบรักษา

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เตือนเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง เหนื่อย หายใจไม่ทัน ปวดร้าวกราม จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ให้รีบมาพบแพทย์ เสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

นายแพทย์สมศักดิ์  อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยพบว่าประมาณ 45% ของการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลมาจากหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอันตรายรุนแรงจากที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดขึ้นได้ทั้ง ขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือขณะพักผ่อน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและมีรอยปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดและไขมันมาเกาะที่ผนังและก่อตัวเป็นตะกรันเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้  อาการและสัญญาณเตือนของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง มีเหงื่อออก ปวดร้าวไปกรามสะบักหลังแขนซ้าย หอบเหนื่อย ใจสั่น จุกบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องรีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจากข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาเข้ารับการรักษาล่าช้าทำให้เสียชีวิตหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา

แพทย์หญิงวิพรรณ  สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการวินิจฉัยของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์จะซักประวัติ อาการ และทำตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหากพบว่ามีอาการเข้าได้กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แพทย์จะรีบทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วยให้ปลอดภัย ด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนใส่ขดลวดค้ำยัน

ทั้งนี้การป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง ควบคุมน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมไขมันในเลือด งดสูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน และเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

http://www.thaihealth.or.th/Content/39761-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน%20ต้องรีบรักษา.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,994
Page Views2,019,388
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view