http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

10 เมนู เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

10 เมนู เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

กรมควบคุมโรค เตือน! 10 เมนู เสี่ยงอาหารเป็นพิษ หลังพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษพุ่ง 93,234 ราย แพทย์แนะ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน จะช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษได้..

          นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคอาหารเป็นพิษใน จ.มหาสารคาม นั้น กรมควบคุมโรค ได้ส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ทั้งจากสำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 7 จ.ขอนแก่น ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค หลังได้รับรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว จากการสอบสวนโรคเบื้องต้น พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 61 ราย เป็นชาย 22 ราย หญิง 39 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 3 ราย

          สำหรับสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษในประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-13 พ.ย. 60 พบผู้ป่วย 93,234 ราย กลุ่มอายุที่พบมากสุดคือ 15-24 ปี รองลงมาอายุ 65 ปีขึ้นไป ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ลำพูน ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี มหาสารคาม และแม่ฮ่องสอน ตามลำดับ

          ขณะที่ โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนพิษของเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ สารพิษหรือสารเคมี มักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารไม่สะอาด และอาหารที่ปรุงไว้นานแล้วไม่ได้แช่เย็น หรือนำมาอุ่นก่อน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มมากขึ้น

          สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ ที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 10 เมนู ได้แก่ 1. ลาบ/ก้อยดิบ 2. ยำกุ้งเต้น 3. ยำหอยแครง/ยำทะเล 4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู 5. อาหาร หรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด 6. ขนมจีน 7. ข้าวมันไก่ 8. ส้มตำ 9. สลัดผัก และ 10. น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ขอให้หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ

          นอกจากนี้ อาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ และหากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน ส่วนประชาชนทั่วไป ขอให้ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และรักษาสุขอนามัย จะช่วยป้องกันโรคอาหารเป็นพิษได้

          ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยโรคนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ ปวดหัว คอแห้งกระหายน้ำ อาจมีไข้ เป็นต้น ในการช่วยเหลือเบื้องต้น ควรให้สารละลายเกลือแร่โออาร์เอส หรืออาหารเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการต่างๆ ข้างต้นไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

http://www.thaihealth.or.th/Content/39645-เตือน!%2010%20เมนู%20เสี่ยงอาหารเป็นพิษ%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,998
Page Views2,019,455
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view