http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เสนอครม.นำเข้ายาแก้พิษสุราเฉียบพลัน

เสนอครม.นำเข้ายาแก้พิษสุราเฉียบพลัน

มีผู้เสียชีวิตจากพิษสุราในเลือดสูงเฉียบพลันกว่าปีละ 10 ราย ซึ่งไทยยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงการรักษาตามอาการ เตรียมเสนอคณะกรรมการยานำเข้าจากต่างๆ ประเทศ ซึ่งมีการทดลองใช้ยาขับพิษแอลกอฮอล์ได้ผล สามารถขับได้ 30-40% พร้อมจะเสนอให้มีการตรวจระดับแอลกอฮอล์หน้าลานเบียร์ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน

 นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงผลกระทบต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า ผลของการดื่มสุราแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ภาวะเมาสุรา มักเกิดกับผู้ที่ไม่ค่อยดื่มสุรา โดยจากการศึกษาพบว่าการดื่มเบียร์ทำให้เมาได้กว่าการดื่มเหล้า เพศหญิงจะเมาเร็วกว่าเพศชาย เพราะมีไขมันในร่างกายมากกว่า และคนที่มีลักษณะร่างกายอ้วน เตี้ย หรือน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป มักเมาได้ง่ายกว่าผู้ที่มีลักษณะร่างกายสูง ผอม หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 70 กิโลกรัม หากกลุ่มเหล่านี้เพิ่งเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูง ซึ่งพิษสุราทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ อาจแสดงออกด้วยความรุนแรง หากดื่มมากอาจจะทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินไป ทำให้หมดสติ ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉิน อาจทำให้ระดับการหายใจลดลง และมียังไม่มียาที่สามารถรักษาภาวะดังกล่าวได้โดยตรง มีเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น การให้ยาป้องกันการแทรกซ้อนทางร่างกาย การฉีดยากันชักเท่านั้น

และ 2.ภาวะติดสุราเรื้อรัง หรือที่เรียกว่าลงแดง จะเกิดกับผู้ที่ดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะมีอาการมือไม้สั่น ความจำเลอะเลือน สับสน โวยวาย เนื่องจากแม้ว่าร่างกายจะสามารถขับแอลกอฮอล์ได้ โดยตับจะทำหน้าที่ทำลาย 90% และไตอีก 10% โดยใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน ผู้ที่ดื่มระยะยาวจะขับออกได้เร็ว แต่หากดื่มไประยะเวลานาน ร่างกายก็ไม่สามารถขับออกหมดได้ ทำให้พิษสุราไปทำลายสมอง ระบบทางเดินอาหาร ตับเสื่อม เกิดอาการดังกล่าว

นพ.นิพนธ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะแอลกอฮอล์ในเลือดสูงฉับพลันจนทำให้หมดสติได้ และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวมากกว่า 10 ราย อาทิ อัตราเร่งดื่ม การดื่มตอนท้องว่าง อายุ โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน การใช้ยาอื่นร่วมกับการดื่มสุรา เพราะยาบางตัวกดสมอง เช่น ยาเสพติด ยารักษาวัณโรคบางตัว ยาแก้โรคซึมเศร้า สภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงหน้าหนาว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่ว่าหากใช้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้แก้เครียด นอนหลับง่ายนั้น ความเป็นจริงคือ ช่วงแรกจะหลับง่ายจริง แต่จะหลับไม่สนิททั้งคืน ตื่นเป็นระยะๆ และในระยะยาวพิษสุราทำลายระบบต่างๆ ในร่างกายทำให้กลายเป็นคนหลับยากมาก

“ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มียาที่ใช้ขับพิษแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้โดยตรง มีเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น ซึ่งในต่างประเทศมีการทดลองใช้ยาที่สามารถขับพิษแอลกอฮอล์จากร่างกายในระยะยาวแล้วได้ผลจริง สามารถขับออกได้ประมาณ 30-40% ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ได้คุยกันไว้คร่าวๆ ว่าควรมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการยาให้มีการนำยาดังกล่าวเข้ามาใช้ในประเทศไทย ซึ่งในส่วนของรายละเอียดก็ต้องคุยกันอีกครั้ง เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง” นพ.นิพนธ์กล่าว และว่า นอกจากนี้พบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา รวมถึงความปลอดภัยบนท้องถนน ดังนั้นจึงคิดว่าเบื้องต้นจะมีการเสนอให้มีการตรวจระดับแอลกอฮอล์หน้าลานเบียร์ต่อคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อไม่ให้ผู้ดื่มที่มีปริมาณสารดังกล่าวมากเกินไปขับรถ ให้นอนพักก่อน แต่เป็นเรื่องที่ยากที่จะบังคับ และอาจมีการตรวจสอบไม่ทั่วถึง เนื่องจากสถานประกอบการมีการขึ้นทะเบียนจำนวนมาก และมีการดำเนินจัดลานเบียร์ตลอดทั้งปี.

http://www.thaihealth.or.th/Content/39464-เสนอครม.นำเข้ายาแก้พิษสุราเฉียบพลัน.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,986
Page Views2,019,264
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view