http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตรวจสุขภาพประจำปี ลดเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ตรวจสุขภาพประจำปี ลดเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

สธ.แนะประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไปตรวจสุขภาพประจำปี ค้นหาความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

          นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษกสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศไทยมีประชาชนเสียชีวิตจากโรคหัวใจเฉลี่ยปีละ 54,000 คนหรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน เป็นสาเหตุการตายของคนไทยสูงสุดสามลำดับแรกร่วมกับมะเร็งและอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่การป่วยและเสียชีวิต มักเป็นอย่างฉุกเฉินไม่รู้ตัวมาก่อน และเกิดในคนที่ดูปกติไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันปีละ 300,000 – 400,000 รายต่อปี โดยพบในกลุ่มนักกีฬาในอัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 65,000 ถึง 1 ต่อ 200,000 สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีการเก็บสถิติภาวะนี้อย่างเป็นระบบจึงยังไม่มีรายงานตัวเลขที่ชัดเจน

          นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจมาจากโรควิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว หรือตีบตัน ดังนั้นผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จึงควรตรวจสุขภาพประจำทุกปี เพื่อติดตามประเมินภาวะสุขภาพ ซึ่งหากพบมีผิดปกติจะได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด หรือรับคำแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป

          ในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัจจัยหลักของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ทำได้โดยรับประทานอาหารสุขภาพ เช่นผัก, ผลไม้, พืชเมล็ดถั่ว, ปลารสไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็มออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็วประมาณ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมไม่สูบบุหรี่ผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนตามคำแนะนำแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ แนะนำให้ออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น เต้นแอโรบิค เดินเร็ว ขี่จักรยาน วิ่งเหยาะๆ และว่ายน้ำ ที่สำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน และออกกำลังแต่พอเหมาะ เริ่มเบาๆ ค่อยเป็นค่อยไป หยุดพักเมื่อเริ่มเหนื่อยหรือแน่นหน้าอก หลังจากที่เริ่มเคยชินก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาของการออกกำลังกายจนสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป ที่สำคัญต้องไม่ลืมเตรียมร่างกาย (Warming up and down) ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง

          นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า ผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและทันท่วงที ก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้นหากพบผู้หมดสติให้เรียกหรือเขย่าตัวผู้หมดสติว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งหรือไม่ หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน จากนั้นให้รีบโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือ 1669 และเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ หากบริเวณนั้นมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า (Automated External Defibrillator หรือ AED)ให้นำเครื่องมาใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่ที่เครื่องทั้งนี้ สัญญาณอาการของโรคหัวใจ ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอกคล้ายถูกของหนักกดทับ ปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนด้านซ้าย หายใจลำบาก หากมีอาการที่กล่าวมาให้รีบนั่งพัก บอกเพื่อน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เพื่อนำส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดทันทีหรือโทรแจ้งสายด่วน 1669

http://www.thaihealth.or.th/Content/39422-ตรวจสุขภาพประจำปี%20ลดเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,990
Page Views2,019,335
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view