http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่

สธ.ให้โรงพยาบาลสร้างความเข้าใจประชาชนถึงอาการวิกฤติฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หากมีข้อสงสัยสอบถามที่ 0-2872-1669

          ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล “ฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP” ว่า โครงการนี้ช่วยให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติสามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทั้งรัฐและเอกชน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยชีวิตโดยเร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2560-30 กันยายน 2560 มีจำนวนผู้ป่วยขอใช้สิทธิ์ 15,243 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 6,757 ราย หรือประมาณร้อยละ 44 ในจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3,117 ราย ส่วนใหญ่เป็นสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

          รมว.สธ.กล่าวอีกว่า ในช่วงเริ่มโครงการพบว่าประชาชนและสถานบริการยังมีปัญหาเรื่องเกณฑ์การเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่สามารถใช้สิทธิ์นี้ ดังนั้น หากเจ็บป่วยฉุกเฉินขอให้แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นผู้ประเมินในเบื้องต้น และส่งเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้าเข้าไปยังสถานพยาบาลของรัฐก็จะเข้าสู่กระบวนการกองทุนแบบเดิม เช่น ประกันสังคม สิทธิ์ข้าราชการ สิทธิ์บัตรทอง แต่หากไปโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกคู่สัญญา จะใช้สิทธิ์ได้ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินวิกฤติเท่านั้น ถ้าฉุกเฉินธรรมดา ฉุกเฉินไม่รุนแรง หรือแบบทั่วไปไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้

          สำหรับอาการฉุกเฉินวิกฤติที่สามารถเข้ารับสิทธิ์รักษาฟรีคือ 1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2.การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3.ระบบหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลัก อุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5.อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขน-ขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก

          อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและโรงพยาบาลทุกแห่ง ช่วยกันสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอาการวิกฤติฉุกเฉินที่เข้าเกณฑ์ใช้สิทธิ์ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” หากประชาชนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ UCEP สอบถามได้ที่ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทร.0-2872-1669 ตลอด 24 ชั่วโมงhttp://www.thaihealth.or.th/Content/39425-เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ%20มีสิทธิทุกที่.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,990
Page Views2,019,340
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view