http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงอุปกรณ์ช่วยหายใจลดอาการกรนขนาดจิ๋ว

อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงอุปกรณ์ช่วยหายใจลดอาการกรนขนาดจิ๋ว

อย. เตือนอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงอุปกรณ์ช่วยหายใจลดอาการกรนขนาดจิ๋ว โดยอ้างว่ามีคุณสมบัติคล้ายเครื่อง CPAP ขนาดใหญ่ สามารถขยายทางเดินหายใจได้ ซึ่งขายเกลื่อนว่อนเน็ต อยู่ในขณะนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถแก้อาการนอนกรนได้ และ อย. ไม่เคยอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อซื้อของไม่มีคุณภาพมาใช้ เสี่ยงอันตราย

          นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีมีเรื่องราวของกลุ่มมิจฉาชีพหลอกขายอุปกรณ์แก้อาการกรนขนาดจิ๋ว ซึ่งมีลักษณะเป็นจุกเล็ก ๆ 2 ข้างใส่เข้าไปในรูจมูก โดยอวดอ้างคุณสมบัติของเครื่องว่าจะทำการเป่าลม เพื่อเข้าไปขยายทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เหมือนกับเครื่อง CPAP นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอชี้แจงว่า อาการนอนกรนนั้น เกิดจากเพดานอ่อน  ลิ้นไก่ยาว และ โคนลิ้นที่โต จะตกลงมาบังหรือปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบ ทางเลือกหนึ่งซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการรักษา คือ การใช้เครื่องเป่าลมหายใจส่วนบน (CPAP) ซึ่งลมที่เป่าเข้าไปจะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก ทำให้ไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนแบบธรรมดาจนถึงผู้ที่มีปัญหานอนกรนแบบอันตราย (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับสำหรับอุปกรณ์นอนกรนขนาดจิ๋วที่มีขายเกลื่อนว่อนอินเทอร์เน็ต อย. ขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อมาใช้ ซึ่ง อย. ไม่เคยอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้า และ โฆษณาขายสินค้าดังกล่าว เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถ  แก้อาการนอนกรนได้ อีกทั้งเป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้บริโภคหลงผิด เสี่ยงอันตรายได้ของที่ไม่มีคุณภาพ   การแก้ปัญหานอนกรนในเบื้องต้น ผู้บริโภคควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนัก หากมีภาวะน้ำหนักเกินควรเปลี่ยนท่าทางในการนอนเป็นท่านอนตะแคง หลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากอาจทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าท่านอนตะแคง ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาทบางชนิด และควรเลิกการสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนต่าง ๆ ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น

           รองเลขาธิการ ฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ยังคงตรวจสอบและเฝ้าระวังอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ผิดกฎหมายมาโดยตลอด ซึ่งหากพบผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายรายใด โฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ หากโฆษณาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าว เพราะนอกจากจะมีราคาแพง ยังไม่สามารถรักษาอาการนอนกรนได้ หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ หากผู้บริโภค พบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผ่านเว็บไซต์ และ Social Media ขอให้แจ้งมาได้ที่ อย. โดยตรงทางสายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ หรือ สายด่วน บก.ปคบ. 1135 เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด

https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat&id=1198

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,996
Page Views2,019,420
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view