http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย่าหลงเชื่อ!! โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต

อย่าหลงเชื่อ!! โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต อ้างว่า มี อย.รับประกัน สามารถลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดจริง ลดไว อย. ขอย้ำว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ไม่มีสรรพคุณในการลดความอ้วนแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกซื้อ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว
ยังอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต

          นายแพทย์วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนและตรวจพบว่ามีการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   ลดความอ้วนทางอินเทอร์เน็ต อ้างว่า มี อย. ของแท้ ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดจริง ลดไว อย. ขอชี้แจงว่า เลขสารบบอาหารหรือเลข อย. เป็นการตรวจประเมินเบื้องต้น ในเรื่องของส่วนประกอบ ฉลาก สถานที่ผลิต โดยผู้ผลิตต้องมีระบบการผลิตที่ดี ได้มาตรฐาน ซึ่งการได้เลขสารบบอาหาร 13 หลัก ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นเครื่องบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น มีส่วนประกอบ กระบวนการผลิต และคุณภาพหรือมาตรฐานสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้หมายรวมถึงการรับรองสรรพคุณตามที่โฆษณา เนื่องจากการโฆษณาลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดจริง ลดไว เป็นการโฆษณาสรรพคุณอันเป็นการโอ้อวด เป็นเท็จ หรือเกินจริง และไม่ใช่สรรพคุณที่ผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะกล่าวอ้างได้แต่อย่างใด ทั้งนี้ อย. ขอย้ำว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในลักษณะดังกล่าวทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งที่ผ่านมา อย. มีการตรวจสอบทางสื่อต่าง ๆ และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง

           เลขาธิการ ฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า จากสถิติที่ผ่านมา อย. ได้ตรวจจับและดำเนินคดีกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาสรรพคุณลดความอ้วนมีการลักลอบผสมสารไซบูทรามีน ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นยาไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับในประเทศไทย มีอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับโรคไต โรคต้อหิน หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร เป็นต้น ผลข้างเคียงจากการ ใช้ยา คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่ามัว ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว หากได้รับในปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง หากผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น หรือสงสัยว่ามีการลักลอบผสมสารไซบูทรามีน ขอให้แจ้งมาได้ที่สายด่วน อย.1556   หรือรองเรียน ผาน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat&id=1210

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,001
Page Views2,019,491
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view