http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ห่วงเด็กไทยอ้วน เสี่ยงโรคแทรกซ้อน

ห่วงเด็กไทยอ้วน เสี่ยงโรคแทรกซ้อน 

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ห่วงเด็กไทยอ้วน เป็นเบาหวาน การทำงานหัวใจและปอดแย่ลง แนะผู้ปกครอง โรงเรียนเร่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก เลี่ยงการกินขนมขบเคี้ยวและอาหารที่มีรสหวาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเด็กไทยสุขภาพแข็งแรง

          นายแพทย์ภานุวัฒน์  ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ภาวะเริ่มอ้วนในเด็กวัยเรียน ร้อยละ 12.2 (ข้อมูลจาก HDC สนย, 2559) สาเหตุเกิดจากการกินอาหารมากเกินความจำเป็น ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ติดเชื้อไข้หวัดและมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ง่าย และยังเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการลดปัญหาโรคอ้วนในวัยเด็ก โดยเร่งดำเนินการให้ทุกโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ ของนักเรียนเพื่อมุ่งหวังลดพฤติกรรมเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ต้องเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) เรื่องโรคอ้วน หากประชากรวัยเด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วนในระดับต่ำแล้ว มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับต่ำ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่

          นายชาญยุทธ  พรหมประพัฒน์ ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา กล่าวต่อว่า กองสุขศึกษาได้สำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายกับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อปี 2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 2,004 คน กระจายทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 60.4 เนื่องด้วยเด็กยังขาดข้อมูลความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคอ้วน จึงไม่สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแนวโน้มเด็กไทยจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเผชิญโรคอ้วนตั้งแต่เด็กนั้นจะเกิดผลร้ายต่อเด็กในระยะยาวและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ เด็กอ้วนเสี่ยงต่อการหยุดหายใจเมื่อหลับสนิท มีปัญหาออกซิเจนในเลือดต่ำลงในขณะนอนหลับส่งผลต่อการเจริญเติบโต มีอาการปวดศีรษะ ปัสสาวะรดที่นอน ซน สมาธิสั้น ระดับสติปัญญาต่ำ และอาจเป็นมากจนมีการทำงานของหัวใจและปอดแย่ลง ทำให้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจขณะหลับ รวมทั้งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

          ทั้งนี้ แนะให้ผู้ปกครอง และโรงเรียนร่วมมือกันปรับพฤติกรรมเด็กตามแนวทางของโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ดังนี้ 1) จัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการให้กับเด็ก เพิ่มผักผลไม้ หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานขนมขบเคี้ยว อาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีรสหวานทุกชนิดทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 2) ส่งเสริมกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตามความชอบและความถนัดของเด็กอย่างเหมาะสม ลดพฤติกรรมการนั่งดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ควรมีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรออกทุกวันๆ ละอย่างน้อย 1 ชั่วโมง การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และ 3) ครูด้านสุขศึกษาช่วยดูแลและป้องกันภาวะอ้วนในเด็ก ด้วยการส่งเสริมให้เด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กและพฤติกรรมการออกกำลังกายที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงให้กับบิดาและมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กต่อไป

http://www.thaihealth.or.th/Content/39025-ห่วงเด็กไทยอ้วน%20เสี่ยงโรคแทรกซ้อน%20.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,994
Page Views2,019,393
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view