http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.แจง อย่าตื่นตระหนก เรื่องพบตะกั่ว แคดเมี่ยมในช็อกโกแลต ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

อย. แจง อย่าตื่นตระหนก เรื่องการพบตะกั่วและ แคดเมี่ยมในช็อกโกแลต ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

อย. ขอประชาชนเชื่อมั่นในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค อย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวการพบตะกั่วและ  แคดเมี่ยมในช็อกโกแลต เผย ปริมาณตะกั่วที่พบไม่เกินค่ากำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยังปลอดภัยต่อการบริโภค นอกจากนี้การปนเปื้อนอาจมาจากแหล่งปลูกพืชตามธรรมชาติ ที่สำคัญการบริโภคไม่ได้มากจนถึงขั้นที่เป็นอันตราย พร้อมทั้งจะตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ให้ผู้จำหน่ายปฏิบัติตามกฎหมาย ย้ำ อย. มีกระบวนการดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารอย่างเป็นระบบ และมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคชัดเจน ขอให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงฉลากครบถ้วน มีเลขสารบบอาหารบนฉลาก เพื่อความปลอดภัย

          นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข่าวที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสุ่มตรวจช็อกโกแลต 19 ชนิด พบ 18 ชนิดปนเปื้อนตะกั่วและแคดเมี่ยม นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ผลการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตตามที่เป็นข่าว มีปริมาณตะกั่วที่พบน้อยกว่า 0.03-0.05 ppm ซึ่งไม่เกินค่ากำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 83 พ.ศ. 2527 โดยค่าที่กำหนดคือ 1 ppm ยกเว้นช็อกโกแลตชนิดไม่หวาน พบได้ไม่เกิน 2 ppm ส่วนการสุ่มตรวจปริมาณแคดเมี่ยมที่พบน้อยกว่า 0.03-0.14 ppm ซึ่งตามมาตรฐานสากลโคเด็กซ์ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดค่าแคดเมี่ยมในช็อกโกแลต รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ในบางประเทศได้มีการกำหนดปริมาณแคดเมี่ยมที่พบในช็อกโกแลตได้ เช่น ออสเตรเลีย กำหนดที่ 0.5 ppm อย่างไรก็ตาม ปริมาณแคดเมี่ยมที่ตรวจพบในช็อกโกแลต ต้องไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อช็อกโกแลต 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ตะกั่วและแคดเมี่ยมที่พบในช็อกโกแลตนั้น อาจมาจากการปนเปื้อนตามธรรมชาติจากแหล่งปลูกโกโก้ ซึ่งเป็นการปนเปื้อนทางสิ่งแวดล้อมที่มาจากน้ำและดินในการปลูกพืช ดังนั้น ปริมาณตะกั่วและแคดเมี่ยมที่ตรวจพบในช็อกโกแลตตามที่ปรากฏเป็นข่าว ยังคงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

กรณีพบช็อกโกแลตที่ผลิตในประเทศมาเลเซียไม่มีฉลากภาษาไทย และไม่มีเลขสารบบอาหารนั้น อย. ได้มีมาตรการดำเนินการกับผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย โดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่จำหน่ายและเร่งดำเนินการตามกฎหมายกับผู้จำหน่ายช็อกโกแลตทั้ง 2 รายการดังกล่าว พร้อมเรียกเก็บคืนสินค้าจากท้องตลาด ทั้งนี้ ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่แสดงฉลากภาษาไทย ก็มีความผิดเช่นเดียวกันตาม พ.ร.บ.อาหาร นอกจากนี้ จะกำชับด่านอาหารและยาให้เข้มงวดในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้า ตลอดจนแจ้งสมาคมค้าปลีก ให้มีมาตรการตรวจสอบคัดกรองสินค้าที่วางจำหน่าย จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางสื่อต่าง ๆ ของ อย. และ Oryor Smart Application รวมทั้งเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

          นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงฉลากภาษาไทยครบถ้วน ถูกต้อง มีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. บนฉลาก และหากผู้บริโภคพบข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารใดอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ขอให้แจ้งร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อ อย. จะเร่งตรวจสอบและเผยแพร่ข่าวให้ผู้บริโภคทราบโดยเร็วที่สุด

https://oryor.com/oryor2015/news-update-detail.php?cat&id=1187


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,988
Page Views2,019,317
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view