http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เผยเห็ดป่า ดอกตูมอันตราย

เผยเห็ดป่า ดอกตูมอันตราย

จากกรณี ที่กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนที่เก็บหรือซื้อเห็ดป่าในช่วงหน้าฝนนี้  ให้ระมัดระวังเห็ดพิษ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ โดยในปีนี้ พบผู้ป่วยกว่า 600 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหน้าฝน โดยข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี แต่ละปีมีผู้ป่วยในช่วงหน้าฝนประมาณ 1,000 ราย หากไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่าจะเป็นเห็ดพิษ ไม่ควรเก็บมาปรุงอาหาร พร้อมหลีกเลี่ยงการกินเห็ดร่วมกับดื่มสุรา

     พญ.ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๗ จ.ขอนแก่น  เปิดเผยข้อมูลการเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 13 ก.ค. 2560 พบผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษแล้ว 638 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 45-54 ปี รองลงมาคือ 65 ปีขึ้นไป  และ 55-64 ปี ตามลำดับ จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลังพบในช่วงหน้าฝนของทุกปี  จึงขอเตือนประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นิยมเก็บหรือซื้อเห็ดป่าในธรรมชาติมากิน แต่เนื่องจากเห็ดป่ามีทั้งเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้  โดยเฉพาะเห็ดที่อาจไม่รู้จักชนิด เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารร่วมกับเห็ดชนิดอื่น ก็อาจทำให้เกิดพิษได้ ซึ่งเห็ดที่เก็บได้หากเป็นเห็ดที่ยังดอกตูมอยู่จะยังแยกชนิดของเห็ดไม่ได้ว่าเป็นเห็ดมีพิษหรือเห็ดที่สามารถรับประทานได้  เช่นเห็นไข่ห่านเหลือง และเห็ดไข่ห่านขาว ทั้งสองชนิดตอนที่ยังเป็นดอกตูมอยู่ลักษณะจะเหมือนเห็ดระโงกหินทั้งขนาด ทั้งสี ยังเหมือนกันอีกด้วย

จึงขอเตือนไม่ให้เก็บเห็ดที่มีลักษณะดอกตูมมารับประทาน   แม้จะเพียงดอกเดียวก็ตาม  พิษของเห็ดที่รับประทานเข้าไปจะไปสะสมอยู่ในตับ ทำให้ตับวายและอาจเสียชีวิตได้ใน ๑๔ วัน เห็ดป่าในกลุ่มระโงกพิษ ซึ่งมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นต่างไปในแต่ละภาค ในภาคเหนือเรียกเห็ดไข่ห่าน เห็ดโม่งโก้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกเห็ดระโงกหิน เห็ดระงากหรือเห็ดสะงาก เห็ดระโงกตีนตัน และเห็ดไข่ตายซาก (ฮาก เป็นต้น รูปร่างทั่วไปจะคล้ายคลึงมากกับเห็ดที่กินได้โดยเฉพาะเห็ดอ่อนที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่หรือดอกยังบานไม่เต็มที่ ในบางเหตุการณ์ที่มีการเสียชีวิตผู้ป่วยเก็บเห็ดมาจากที่เคยเก็บในปีก่อนๆ ซึ่งเคยกินแล้วไม่เป็นพิษ สารพิษที่พบในเห็ดสกุลนี้ที่สำคัญและมีพิษรุนแรงมากที่สุด คือ อะมาท๊อกซิน (Amanitin) และฟาโลท็อกซิน (Phalloidins) เป็นสารพิษที่ไม่ถูกทำลายด้วยความร้อน     ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและขอคำแนะนำสุขภาพการป้องกันโรคได้ทางสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

http://www.thaihealth.or.th/Content/38945-เผยเห็ดป่า%20ดอกตูมอันตราย.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 15/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,754,002
Page Views2,019,508
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view